รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดภูเก็ต
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกะทู้
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอถลาง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองภูเก็ต
เข้าดูผลงานที่ http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html
จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะต่างจากจังหวัดอื่นอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่พื้นที่ของจังหวัดทั้งหมดเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย
จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต(ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง
นอกจากนี้แล้ว ภูเก็ตยังถือเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะในเขตพื้นที่จังหวัดมากถึง 154 เกาะ นับเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากจังหวัดพังงาที่มีมากถึง 155 เกาะ
ประวัติ
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา(ภู)มีประกายแก้ว(เก็จ)เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต(เกาะถลาง)นั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมือง(ถลาง)ภูเก็ต
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต
ประชากร
ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"
ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea sp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ประดู่ (Pterocarpus indicus)
คำขวัญประจำจังหวัด: ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม
สถานที่สำคัญ
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตเป็นศาลากลางที่ไม่เหมือนใครด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจเป็นแม่เพลงอันดามัน
ศาลเจ้ากะทู้เป็นที่แรกเริ่มเทศกาลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
ศาลเจ้าแสงธรรมหรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
ศาลเจ้าบ้านท่าเรือหรือ ฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย
วัดพระทอง มีพระผุดมาจากดิน มีลายแทงยัก 3 ยัก 4 หามผีไปเผา ผีไม่ทันเน่าหอมฟุ้งตลบ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.ภูเก็ต)เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่(เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
สนามบินนานาชาติภูเก็ตอยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
อนุสรณ์สถานเมืองถลาง(PHUKET HISTORICAL PARK)อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ ตำบลเทพกระษัตรี อ.ถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘
ฮ่ายเหลงอ๋องพญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา อยู่ในตัวเมืองภูเก็ต
อำเภอในจังหวัดภูเก็ต
จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะต่างจากจังหวัดอื่นอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่พื้นที่ของจังหวัดทั้งหมดเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย
จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต(ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง
นอกจากนี้แล้ว ภูเก็ตยังถือเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะในเขตพื้นที่จังหวัดมากถึง 154 เกาะ นับเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากจังหวัดพังงาที่มีมากถึง 155 เกาะ
ประวัติ
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา(ภู)มีประกายแก้ว(เก็จ)เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต(เกาะถลาง)นั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมือง(ถลาง)ภูเก็ต
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต
ประชากร
ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"
ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea sp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ประดู่ (Pterocarpus indicus)
คำขวัญประจำจังหวัด: ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม
สถานที่สำคัญ
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตเป็นศาลากลางที่ไม่เหมือนใครด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจเป็นแม่เพลงอันดามัน
ศาลเจ้ากะทู้เป็นที่แรกเริ่มเทศกาลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
ศาลเจ้าแสงธรรมหรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
ศาลเจ้าบ้านท่าเรือหรือ ฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย
วัดพระทอง มีพระผุดมาจากดิน มีลายแทงยัก 3 ยัก 4 หามผีไปเผา ผีไม่ทันเน่าหอมฟุ้งตลบ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.ภูเก็ต)เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่(เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
สนามบินนานาชาติภูเก็ตอยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
อนุสรณ์สถานเมืองถลาง(PHUKET HISTORICAL PARK)อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ ตำบลเทพกระษัตรี อ.ถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘
ฮ่ายเหลงอ๋องพญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา อยู่ในตัวเมืองภูเก็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น