วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดยะลา

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดยะลา

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกรงปินัง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกาบัง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอธารโต
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอบันนังสตา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองยะลา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอยะหา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอรามัน

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพิกุล (Mimusops elengi)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ศรียะลา (Saraca declinata)
คำขวัญประจำจังหวัด: ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน

ประวัติ
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ

ความหมายของชื่อจังหวัด
เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มาเลย์: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มาเลย์: Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[3] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกผู้เขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง[3]

แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้

เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้

เมืองที่สวยงาม
ยะลาเป็นจังหวัดที่เทศบาลมีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด 3 ปีซ้อนระหว่าง พ.ศ. 2528-2530 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ในปี พ.ศ. 2538 ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นเป็น 1 ใน 5 เมืองของประเทศไทย

ประชากร
และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 [5] มีมัสยิดทั้งหมด 453 แห่ง, วัดในพุทธศาสนา 45 แห่ง[6], โบสถ์คริสต์ 6 แห่ง และคุรุดวาราศาสนาซิกข์ 1 แห่ง

อย่างไรก็ตามจังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด

อุทยาน
อุทยานแห่งชาติบางลาง
อุทยานน้ำตกธารโต
น้ำตกละอองรุ้ง
น้ำตกสุขทาลัย
น้ำตกลาตอ

สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเบตง
น้ำตกละอองรุ้ง

อำเภอในจังหวัดยะลา



รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดตรัง

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดตรัง

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกันตัง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอนาโยง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอปะเหลียน
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองตรัง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอย่านตาขาว
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอรัษฎา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอวังวิเศษ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอสิเกา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอหาดสำราญ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอห้วยยอด

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยง เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้

ประวัติ
จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จรดจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันออก จรดจังหวัดพัทลุง
ทิศใต้ จรดจังหวัดสตูลและทะเลอันดามัน
ทิศตะวันตก จรดทะเลอันดามันและจังหวัดกระบี่

ประชากร
ประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน รองลงมาเป็นชาวไทย รวมไปถึงชาวมุสลิม คนกลุ่มนิกริโต และชาวเลในท้องถิ่น ประชากรร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัดทั้งหมด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้าและโรงเจ 19 แห่ง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด:ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ศรีตรัง (Jacaranda filicifolia)
คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
คำขวัญท่องที่ยวประจำจังหวัด: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา (The city of Phraya Rasda; broad-hearted citizen; delicious roast pork; origin place of para rubber; Lovely Si Trang flower; beautiful coral reef; charming sandy beach; and wonderful waterfalls.)

การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง (อ.สิเกา)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (อ.เมือง)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง (อ.เมือง และ อ.ห้วยยอด)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาตรัง (อ.เมือง)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาตรัง วิทยาคารห้วยยอด (อ.ห้วยยอด)
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ศูนย์การศึกษาตรัง (อ.เมือง)
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์การศึกษาตรัง. ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง (อ.เมือง)
มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์การศึกษาตรัง. ณ โรงเรียนห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตตรัง (อ.ย่านตาขาว)
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (อ.กันตัง)
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง (อ.เมือง)
วิทยาลัยเทคนิคตรัง (อ.เมือง)
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ตรัง

ศาสนสถาน
วัดกระพังสุรินทร์
วัดตันตยาภิรม
วัดตรังคภูมิพุทธาวาส
วัดน้ำพราย เป็นวัดที่มีพระเกจิที่นิพพานแล้วแต่เผาไม่ติดไฟ เลยบรรจุไว้ในโลงแก้ว
วัดแจ้ง
วัดนิโคธาราม
วัดนิกรณ์
วัดโคกยาง อำเภอกันตัง
วัดกมลศรี อำเภอสิเกา เป็นวัดที่มีพระเกจิที่นิพพานแล้วแต่เผาไม่ติดไฟ เลยบรรจุไว้ในโลงแก้ว เช่นกัน

สถานที่ท่องเที่ยว
สวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติ (ทุ่งค่าย)
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
หาดและพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหาดราชมงคล
หาดปากเมง
เกาะไหง
เกาะรอก
เกาะกระดาน
เกาะมุก-ถ้ำมรกต
ถ้ำเลเขากอบ
ถ้ำเขาช้างหาย

อำเภอในจังหวัดตรัง



รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดสุราษฎรณ์ธานี

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดสุราษฎรณ์ธานี

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเกาะพะงัน
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเกาะสมุย
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกาญจนดิษฐ์
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเคียนซา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอคีรีรัฐนิคม
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอไชยา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอชัยบุรี
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอดอนสัก
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอท่าฉาง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอท่าชนะ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอบ้านตาขุน
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอบ้านนาเดิม
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอบ้านนาสาร
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอพนม
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอพระแสง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอพุนพิน
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองรถ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอวิภาวดี
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเวียงสระ

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า "สุราษฎร์" ใช้อักษรย่อ "สฎ" เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง

จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่นเกาะสมุย เกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม

ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีจำนวนเกาะในเขตพื้นที่จังหวัดมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย

ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล

สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีผลิตผล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด คือ พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 และเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)ตั้งอยู่อำเภอวิภาวดี
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) ตั้งอยู่อำเภอพนม
คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี: "สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าทองอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย"
ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ "ผีเสื้อที่กำลังกางปีกโบยบินอยู่"
เพลงประจำจังหวัด
สุราษฎร์ธานี รุ่งเรืองสมเมืองคนดี อีกธารตาปี นามพระธีรราชประทาน เป็นแดนอุดมไม้ปลา มะพร้าวมาเนิ่นนาน เหล่าราษฎร์สุขศานต์ มุ่งมั่นขยันทำกิน มิ่งขวัญ ชาวเมือง มีองค์พระธาตุพุทธศาสน์ประเทือง ถิ่นชนกตัญญูยิ่ง เมตตาอยู่อาจิณ ร่วมรักแผ่นดิน คนดี นี้ไชโย

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และอันดับ 1 ของภาคใต้โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้
ด้านเหนือ ติดกับจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร และอ่าวไทย
ด้านใต้ ติดกับจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
ด้านตะวันออก ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและอ่าวไทย
ด้านตะวันตก ติดกับจังหวัดพังงา
โดยทะเลฝั่งอ่าวไทยนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 156 กิโลเมตร โดยมีเกาะที่อยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัดฯ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน และหมู่เกาะอ่างทองและยังมีเกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย จึงได้ชื่อว่าเมืองร้อยเกาะ เช่นเกาะนางยวน

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูมิประเทศแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง รวมทั้งภูมิประเทศแบบภูเขาซึ่งกินพื้นที่ของจังหวัดถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีทิวเขาภูเก็ตทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำตาปี ไชยา ท่าทอง เป็นต้น

ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีเกาะน้อยใหญ่ที่มีประชากรอาศัย ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำตาปี

เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.16 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.51 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตร

อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดสงขลา

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดสงขลา

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกระแสสินธุ์
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอคลองหอยโข่ง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอควนเนียง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอจะนะ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเทพา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอนาทวี
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอนาหม่อม
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอบางกล่ำ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองสงขลา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอระโนด
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอรัตภูมิ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอสทิงพระ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอสะเดา
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอสะบ้าย้อย
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอสิงหนคร
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอหาดใหญ่

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้

ตราและสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: เฟื่องฟ้า (Bougainvillea spp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: สะเดาเทียม (Azadirachta excelsa)
คำขวัญ
คำขวัญประจำจังหวัดของจังหวัดสงขลาในปัจจุบันคือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้" ซึ่งเปลี่ยนมาจากคำขวัญเมื่อจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย" และคำขวัญท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกแคมเปญ Visit Thailand คือ "นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานติณ ถิ่นธุรกิจแดนใต้"

แหล่งท่องเที่ยว
แหลมสมิหลา
แหลมสมิหลาอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ห่างจากตลาดสดเทศบาลประมาณ 3 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาดและทิวสนอันร่มรื่น มีร้านขายอาหารอยู่มาก การเดินทางจากหาดใหญ่ใช้รถประจำทางสายหาดใหญ่-สงขลา แต่หากอยู่ในตัวเมืองสงขลาก็มีรถสองแถว บริการจากตัวเมืองไปยังชายหาดในราคาไม่แพงนัก

แหลมสนอ่อน
แหลมสนอ่อน ติดกับแหลมสมิหลาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ด้านทิศตะวันตกของแหลมสนอ่อนเป็นทะเลสาบสงขลา บริเวณรอบ ๆ แหลมสนอ่อนมีถนน สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งทะเลหลวงและทะเลสาบ นอกจากนี้ยังมีสวนสนซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนและนั่งพักรับประทานอาหาร

เขาตังกวน
อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาน้อย มีบันไดทางขึ้นอยู่ใกล้วัดแหลมทราย (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต) บนยอดเขามีเจดีย์และตำหนักซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาตังกวนแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทะเลสาบสงขลาได้อย่างชัดเจน

เก้าเส้ง
อยู่ทางทิศใต้ของหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนแยกจากถนนไทรบุรี ตรงสามแยกสำโรง (โรงพยาบาลประสาท) เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของสงขลา มีโขดหินระเกะระกะอยู่ริมทะเล และมีอยู่ก้อนหนึ่งตั้งเด่นอยู่เหนือโขดหิน ซึ่งชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า "หัวนายแรง"

เมืองว่า “หัวนางแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนด บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา ๑๒ หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ

พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราช ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” เรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง” ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า“หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญาน ของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้”

เกาะหนู-เกาะแมวเป็นเกาะใกล้ชายฝั่งขนาดเล็ก อยู่นอกแหลมสมิหลา มีหินสวยงามเหมาะสำหรับตกปลา

ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนกว้างไม่แน่นอน บางตอนแคบ บางตอนกว้างมาก ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวสามารถหาเรือท่องเที่ยวในทะเลสาบได้บริเวณท่าเรืออยู่หลังที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข หรือบริเวณตลาดสด จะมีเรือหางยาวรับส่งตลอดวัน

เป็นสวนสัตว์เปิดริมถนนสงขลา-นาทวี ตำบลเขารูปช้าง มีเนื้อที่ 911 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าของไทยคืนสู่ธรรมชาติ พื้นที่เป็นภูเขาเล็ก ๆ หลายลูก มีถนนลาดยางโดยรอบและแยกชนิดสัตว์ไว้เป็นหมวดหมู่ มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศ เช่น อูฐ นกชนิดต่าง ๆ วัวแดง เสือ จระเข้ ฯลฯ นอกเหนือจากสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ อันควรค่าแก่การศึกษา สวนสัตว์สงขลายังมีจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดคือ จุดชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองสงขลา บริเวณนั้นมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว

วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อยู่ที่ถนนไทรบุรี เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา อายุ 400 ปี สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมเรียกว่าวัดยายศรีจันทร์ กล่าวกันว่ายายศรีจันทร์ คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลาได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมามีผู้สร้างวัดเลียบทางทิศเหนือ และวัดโพธิ์ทางทิศใต้ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า "วัดกลาง" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมัชฌิมาวาส" โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสคราวเสด็จเมืองสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2431 ในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ พระอุโบสถ สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เช่น ภาพท่าเรือสงขลาที่หัวเขาแดงที่มีการค้าขายกันคึกคัก ซุ้มประตู เป็นศิลปะจีนกับยุโรป และมีพิพิธภัณฑ์ "ภัทรศิลป" เป็นที่เก็บพระพุทธรูป วัตถุโบราณ ซึ่งรวบรวมมาจากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ควรค่าแก่การศึกษา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคารและวันหยุดราชการ เวลา 13.00-16.00 น.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชม เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน อายุกว่า 100 ปี เดิมเป็นบ้านพักส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2421 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 จึงใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราชและเป็นศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. 2496

ในปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารนี้เป็นโบราณสถานและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2525 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง อาทิ บานประตูไม้เดิมของจวน เป็นศิลปะพุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยไม้จำหลักเขียนสีและประดับมุกฝีมือช่างชาวจีนชั้นครู แสดงออกถึงคตินิยมในธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ศาสนาตามแบบจีนที่วิจิตรงดงามยังความสมบูรณ์อยู่มาก โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีจากบ้านเชียงและกาญจนบุรี เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 7431 1728

เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุวัดชัยมงคล
อยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟสงขลา มีเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ซึ่งได้มาจากศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. 2435 ปัจจุบันเป็นวัดหลวง มีอุโบสถและศาลาการเปรียญที่สวยงามมาก

พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง
ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะ ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งบ้านพักเดิมของรองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พิพิธภัณฑ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา จากคำบอกเล่าความทรงจำในอดีตสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำสงขลา "พะทำมะรง" เป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีควบคู่กับตำแหน่งพัสดีปรากฏหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.00 น.

บ้านศรัทธา
เป็นบ้านที่ชาวสงขลาพร้อมใจกันสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญทางประวัติศาสตร์มอบให้กับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ต่อมาท่านได้มอบบ้านศรัทธานี้คืนให้กับชาวสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2539 พร้อมกันนี้ชาวจังหวัดสงขลาได้จัดสร้างอาคารหอสมุดกาญจนาภิเษกขึ้น ตรงเชิงเขาใกล้กับบ้านศรัทธาและเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้า บ้านศรัทธาตั้งอยู่บนเนินเขา ใกล้กับบ้านศรัทธา และเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้าและท่องเที่ยว บ้านศรัทธานี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงศรัทธาที่ชาวสงขลามีต่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา-สถาบันทักษิณคดีศึกษา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา บริเวณใกล้เชิงสะพานติณฯ ตอนเหนือ และอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4146 มีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ 1 งาน 39.9 ตารางวา พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่บริเวณเชิงเขา และอีกส่วนหนึ่งอยู่บนยอดเขา และเมื่อขึ้นไปอยู่บนสุดของพื้นที่ จะสามารถมองเห็นทะเลสาบส่วนที่ล้อมเกาะทั้ง 3 ด้าน เป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก

สถาบันแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ และมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ไว้เป็นที่น่าสนใจมาก เช่น ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจิตรกรรมฝาผนัง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ตลอดจนผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่าง ๆ สถาบันทักษิณคดีศึกษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา อุทยานวัฒนธรรม ศูนย์วิทยบริการด้านวัฒนธรรม งานส่งเสริมและเผยแพร่ และหมู่บ้านวัฒนธรรมสาธิต สถาบันเปิดให้ผู้สนใจชมในเวลาราชการทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 5 บาท

เกาะยอ
เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ไปตามเส้นทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ทางไปอำเภอสิงหนคร เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะรับประทานสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

สถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสงขลา ตั้งอยู่บริเวณ ปลายแหลมสนอ่อน เป็นโครงการที่ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศทางน้ำและพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิด มีเนื้อที่รวม ประมาณ 7.5 ไร่ ตัวอาคารมีเนื้อที่ 2 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนน้ำจืด เป็นการจำลองน้ำตกที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ และการแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด ส่วนน้ำกร่อย เป็นการจำลองระบบนิเวศของน้ำ เช่น ป่าชายเลน พืช และสัตว์ที่อาศัยบริเวณป่าชายเลน ส่วนทะเล มีสัตว์ทะเลและพันธุ์ปลาหลากหลาย ชนิดสามารถชมผ่านจอแก้วพานอรามาที่มีขนาดสูง 3 เมตร ยาว 7 เมตร สามารถชมปลาได้ในมุมกว้าง

ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ
เป็นโครงการที่เทศบาลนครสงขลาสรรค์สร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายหาดสมิหลาให้เป็นสถานที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยวและชาวสงขลา โดยนำเอาคติความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เชื่อว่า พญานาค ป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ชาวใต้จึงนับถือพญานาคเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต นับเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นของชาวสงขลา

ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดสงขลา มีลักษณะแบบลอยตัว สามารถมองเห็นได้รอบด้าน เนื้อวัตถุเป็นโลหะทองเหลืองรมสนิมเขียว ออกแบบโดยอาจารย์มนตรี สังข์มุสิกานนท์ (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณคนปัจจุบัน) มีการสร้างขึ้นเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง หัวพญานาค ตั้งอยู่บริเวณสวนสองทะเล ปลายแหลมสนอ่อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความสูงจากฐานลำตัวจนถึงปลายยอดสุดประมาณ 9 เมตร พ่นน้ำลงสู่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ส่วนที่สอง สะดือพญานาค ตั้งอยู่บริเวณลานชมดาวสนามสระบัว แหลมสมิหลา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ความยาว 5.00 เมตร ความสูง 2.50 เมตร ลักษณะลำตัวโค้งครึ่งวงกลม เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ลอดใต้สะดือพญานาคให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ส่วนที่สาม หางพญานาค ตั้งอยู่บริเวณชายหาดสมิหลา ริมถนนสะเดา (หลังสนามกอล์ฟ) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร ความยาว 4.00 เมตร ความสูง 4.50 เมตร ปัจจุบันประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยมเยือนจังหวัดสงขลา

สะพานติณสูลานนท์
สะพานติณสูลานนท์ (สะพานติณหรือสะพานป๋า) เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงที่เชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407 สายหาดใหญ่-สงขลา กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 สายสงขลา-ระโนด โดยสะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา แบ่งออกเป็นสองช่วง คือช่วงแรก เชื่อมระหว่างชายฝั่งอำเภอเมืองสงขลา บริเวณบ้านน้ำกระจายกับเกาะยอตอนใต้ ความยาวรวมเชิงสะพานทั้งสองด้าน 1,140 เมตร ช่วงที่ 2 เชื่อมระหว่างฝั่งด้านเหนือของเกาะยอกับฝั่งบ้านเขาเขียว ความยาวทั้งทั้งสิ้น 1,800 เมตร สะพานนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527 และเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2529 สะพานแห่งนี้ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องเดินทางแวะชมควบคู่ไปกับการมาท่องเที่ยวและรับประทานอาหารที่เกาะยอ

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดสตูล

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดสตูล

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอควนกาหลง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอควนโดน
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอท่าแพ
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอทุ่งหว้า
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองสตูล
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอมะนัง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอละงู

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูว่า สโตย (มาเลย์: Setul; ยาวี: ستول) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (มาเลย์: Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา[3] ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกาหลง (Bauhinia acuminata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: หมากพลูตั๊กแตน (Dalbergia bariensis)
คำขวัญประจำจังหวัด: สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
คำขวัญประจำจังหวัด (เดิม): ตะรุเตา ไก่ดำ จำปาดะ คนใจพระ งามเลิศ เชิดสตูล

สภาพทางภูมิศาสตร์
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ

ภูมิประเทศ
พื้นที่จังหวัดสตูลทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน โดยมีทิวเขาที่สำคัญแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย คือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ของจังหวัดค่อย ๆ ลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยยังมีภูเขาน้อยใหญ่อยู่กระจัดกระจายในตอนล่าง ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาจีน เขาบารัง เขาใหญ่ เขาทะนาน และเขาพญาวัง และมีที่ราบแคบ ๆ ขนานไปกับชายฝั่งทะเล ถัดจากที่ราบลงไปเป็นพื้นที่ป่าชายเลนน้ำเค็มขึ้นถึง อุดมไปด้วยป่าแสมและป่าโกงกาง สตูลเป็นจังหวัดที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน คงมีแต่ลำน้ำสั้น ๆ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด

ภูมิอากาศ
พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.6-39.5 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.9-38.8 องศาเซลเซียส
ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,318 มิลลิเมตร ตกชุกที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.72 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 23.51 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 38.4 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 และอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 19.2 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545

ประชากร

ขนมบุหงาปูดะ หรือขนมดอกลำเจียก ขนมพื้นเมืองของจังหวัดสตูล
จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากถึงร้อยละ 67.8 ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายมลายู มีมัสยิดกลางประจำจังหวัดคือ มัสยิดมำบัง[5] รองลงมาคือชาวพุทธซึ่งมีอยู่ร้อยละ 31.9 มีวัดทั้งหมด 30 แห่ง[6] และที่เหลือคือศาสนาคริสต์ ซึ่งศาสนสถานอยู่ 3 แห่งในเขตอำเภอเมืองสตูล ทุ่งหว้า และละงู

ในจังหวัดประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในจำนวนนี้มีประชากรร้อยละ 9.9 อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายู โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในสตูลมีความแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบปัตตานี แต่จะมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับชาวมาเลย์ในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และได้รับการผสมผสานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย[8] ชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูแต่เดิมใช้ภาษามลายูเกดะห์ ในการสื่อสาร แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้เช่นเดียวกับเยาวชนในตัวเมืองปัตตานีและยะลา แต่ยังเหลือประชาชนที่ยังใช้ภาษามลายูถิ่นได้ 13 หมู่บ้าน[10] ใน 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิด นอกนั้นในชีวิตประจำวันชาวสตูลนิยมพูดภาษาไทยมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสที่ร้อยละ 80 ยังใช้ภาษามลายูได้ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นกลุ่มสังคมเมืองซึ่งพูดมลายูได้เล็กน้อยหรือพูดปนภาษาไทย

อย่างไรก็ตามอิทธิพลทางด้านภาษามลายูถิ่นในจังหวัดสตูลนั้นยังมีให้เห็นทั่วไป เช่น เกาะตะรุเตา (มาจากคำว่า ตะโละเตา แปลว่า อ่าวเก่าแก่), อ่าวพันเตมะละกา (แปลว่า ชายหาดที่มีชาวมะละกา), อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (มาจากคำว่า ลาอุตเรอบัน แปลว่า ทะเลยุบ) เป็นต้น[12] แต่หลายพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อให้เป็นภาษาไทยไป เช่น อำเภอสุไหงอุเป (มีความหมายว่า คลองกาบหมาก) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทุ่งหว้า, บ้านปาดังกะจิ เปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งนุ้ย, บ้านสุไหงกอแระ เปลี่ยนเป็น บ้านคลองขุด เป็นอาทิ

ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดสตูลได้มีการนำหลักสูตรสอนภาษามลายูกลางใน 7 โรงเรียนคือ โรงเรียนบ้านควน โรงเรียนบ้านเจ๊ะบิลัง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง โรงเรียนบ้านแป-ระเหนือ โรงเรียนบ้านสนกลาง โรงเรียนบ้านปากบารา และโรงเรียนบ้านปากละงู ซึ่งในโรงเรียนบ้านควนมีผลการจัดการสอนที่น่าพึงใจ นักเรียนสามารถใช้ภาษามลายูกลางกับนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวมาเลเซียได้ และนำไปสู่การประเมินผล และขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ

แม้ว่าในอดีตสตูลจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสุลต่านแห่งไทรบุรี แต่ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ รวมไปถึงเหตุผลด้านภูมิศาสตร์สตูลจึงนิยมติดต่อกับสงขลามากกว่าไทรบุรี ทำให้ได้รับอิทธิพลทางประเพณีและวิถีชีวิตอย่างสูงจากสงขลา ชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมได้แต่งงานข้ามกันกับชาวไทยพุทธโดยไม่มีความตึงเครียดทางศาสนา ทำให้เกิดกลุ่มสังคมที่เรียกว่า ซัมซัม (มาเลย์: Samsam) ซึ่งในภาษามลายูแปลว่า ลูกครึ่ง ซัมซัมส่วนใหญ่ก็มิได้นับถือศาสนาอิสลามเสมอไป

จังหวัดสตูลไม่เหมือนจังหวัดมุสลิมอื่นในไทย เนื่องจากไม่มีประวัติศาสตร์การเผชิญหน้ากับศูนย์กลางการปกครองในกรุงเทพมหานครหรือความตึงเครียดระหว่างชาวไทยพุทธ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย

อำเภอในจังหวัดสตูล



รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดระนอง

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดระนอง

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกระบุรี
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกะเปอร์
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองระนอง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอละอุ่น
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอสุขสำราญ

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร

ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก เป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร คำว่าระนอง เพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากจังหวัดระนอง มีแร่อยู่มากมาย

ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง

แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้

แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ
จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโกมาชุม (Dendrobium formosum)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
คำขวัญประจำจังหวัด: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง ("กาหยู" หมายถึงมะม่วงหิมพานต์)

อำเภอในจังหวัดระนอง



รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดภูเก็ต

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 จังหวัดภูเก็ต

รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอกะทู้
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอถลาง
รถลาก รถยก รถสไลด์ อำเภอเมืองภูเก็ต

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีลักษณะต่างจากจังหวัดอื่นอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่พื้นที่ของจังหวัดทั้งหมดเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ

คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต(ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง

นอกจากนี้แล้ว ภูเก็ตยังถือเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะในเขตพื้นที่จังหวัดมากถึง 154 เกาะ นับเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากจังหวัดพังงาที่มีมากถึง 155 เกาะ

ประวัติ
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต
เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา(ภู)มีประกายแก้ว(เก็จ)เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต(เกาะถลาง)นั่นเอง

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมือง(ถลาง)ภูเก็ต

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต

ประชากร
ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน

ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea sp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ประดู่ (Pterocarpus indicus)
คำขวัญประจำจังหวัด: ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

สถานที่สำคัญ
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตเป็นศาลากลางที่ไม่เหมือนใครด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นทั้งยังเป็นโบราณสถานที่ยังใช้การอยู่จนกระทั่งปัจจุบันอีกด้วย
วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม) พ.ศ. 2419 ศิษย์พ่อท่านแช่มต่อสู้กับอั้งยี่
วัดพระนางสร้าง มีลายแทง "พิกุลสองสารภีดีสมอแดงจำปาจำปีตะแคง..." พระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ที่สุด ตำนานพระนางเลือดขาว
อนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509
เกาะสิเหร่ มีชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ย รองเง็งคณะแม่จิ้ว ประโมงกิจเป็นแม่เพลงอันดามัน
ศาลเจ้ากะทู้เป็นที่แรกเริ่มเทศกาลกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย)
ศาลเจ้าบางเหนียว ศาลเจ้าใกล้บริเวณท่าเรือที่ชาวต่างชาติรับส่งสินค้ามีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
ศาลเจ้าแสงธรรมหรืออ๊ามเตงก่องต๋อง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ตมีสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก เป็นศาลเจ้าประจำตระกูลตัน
ศาลเจ้าบ้านท่าเรือหรือ ฮกเล่งเก้ง เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโป๊เซ้งไต่เต่ องค์พระประธานของศาลเจ้า
ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง หรือ คนภูเก็ตเรียกว่า อ๊ามจุ๊ยตุ๋ย
วัดพระทอง มีพระผุดมาจากดิน มีลายแทงยัก 3 ยัก 4 หามผีไปเผา ผีไม่ทันเน่าหอมฟุ้งตลบ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง มีเทวประธานคือพระวิษณุ จดหมายเหตุท้าวเทพกระษัตรี หง่อก่ากี่ ชาวเล
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต(พมร.ภูเก็ต)เดิมใช้ชื่อว่าพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ใน อังมอเหลามีเหมืองจำลองเหมืองแล่น เหมืองรู เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมือง เรือขุด; โลหะดีบุก เพชรภูเก็จ เพชรพังงา แทนทาลัม วิถีชีวิตชาวกะทู้; ภายนอกมีรางเหมืองแร่(เหมืองสูบ-ฉีด) ขนาดใหญ่ไว้สาธิตการได้แร่ดีบุกของนายหัวเหมือง
สนามบินนานาชาติภูเก็ตอยู่ติดชายทะเลระหว่างหาดในยางและหาดไม้ขาว
อนุสรณ์สถานเมืองถลาง(PHUKET HISTORICAL PARK)อยู่ในสมรภูมิเมืองถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ ตำบลเทพกระษัตรี อ.ถลาง พื้นที่ ๙๖ ไร่ ก่อนการพัฒนาเป็นทุ่งนาหลวง มีคลองเสน่ห์โพไหลผ่านไปบรรจบกับคลองบางใหญ่ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาพระแทวไปออกทะเลที่อู่ตะเภา ทะเลพัง เคยเป็นที่จอดเรือรบของยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘
ฮ่ายเหลงอ๋องพญามังกร ณ ลานเฉลิมพระเกียรติฯ 72 พรรษา อยู่ในตัวเมืองภูเก็ต

อำเภอในจังหวัดภูเก็ต