รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132
เขตบางซื่อ,พญาไท,จตุจักร,วังทองหลาง,ลาดพร้าว
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตพญาไท
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตจตุจักร
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตวังทองหลาง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตลาดพร้าว
เข้าดูผลงานที่ http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html
เขตบางซื่อ
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า
การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองประปา ทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดุสิต มีคลองบางซื่อ คลองประปา คลองเปรมประชากร
และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี)
มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
อำเภอบางซื่อ
ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอชั้นนอกอำเภอหนึ่งในมณฑลกรุงเทพ
โดยขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาลเมื่อปี พ.ศ. 2437 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในช่วงที่มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนั้น อำเภอบางซื่อแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14
ตำบล ได้แก่ ตำบลบางพลัด ตำบลบางอ้อ ตำบลบางโพ ตำบลบางกระบือ ตำบลถนนนครไชยศรี
ตำบลสามเสนใน ตำบลสามเสนนอก ตำบลลาดยาว ตำบลสี่แยกบางซื่อ ตำบลบางซื่อใต้
ตำบลบางซื่อเหนือ ตำบลบางซ่อน ตำบลบางเขนใต้ และตำบลบางเขน
(ครอบคลุมไปถึงพื้นที่บางส่วนของเขตบางพลัด เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี
เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตจตุจักร และอำเภอเมืองนนทบุรีในปัจจุบัน)
ในวันที่
21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานคร (หรือมณฑลกรุงเทพ)
ขึ้นใหม่ และกำหนดให้อำเภอบางซื่อรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร ตลอดเวลาที่ผ่านมา
ในเขตจังหวัดพระนครได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองใหม่หลายครั้ง
ตำบลในอำเภอบางซื่อหลายตำบลถูกยุบรวมกับตำบลอื่นหรือไม่ก็ถูกโอนไปขึ้นกับอำเภอข้างเคียง
ทำให้อำเภอนี้มีขนาดเนื้อที่ลดลง ในปี พ.ศ. 2470
ท้องที่อำเภอบางซื่อเหลือเพียงตำบลบางซื่อ บางซ่อน ลาดยาว สามเสนนอก สามเสนใน
และบางกระบือเท่านั้น[6] ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2481
(รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล)
ทางราชการมีคำสั่งให้รวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน
อำเภอบางซื่อจึงถูกยุบเลิก เหลือเพียงชื่อ ตำบลบางซื่อ
เป็นเขตการปกครองย่อยของอำเภอดุสิตนับแต่นั้น
ในปี
พ.ศ. 2514
มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8]
และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515)
ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร
แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบลตามลำดับ
ตำบลบางซื่อจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางซื่อ และยังคงขึ้นกับเขตดุสิต
ภายหลังเขตดุสิตมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น
ท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงบางซื่อ (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเขต)
ยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและสะดวกรวดเร็ว
ในขั้นแรกกรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1
รับผิดชอบในพื้นที่แขวงบางซื่อเมื่อปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.
2532 จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกแขวงบางซื่อออกจากเขตดุสิตและจัดตั้งเป็น
เขตบางซื่อ ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ
และการให้บริการแก่ประชาชนที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในท้องที่มากขึ้น
ประกาศฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่กระทรวงออกประกาศนั่นเอง
การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางซื่อ
และตั้งแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน
ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบางซื่อแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng)
ได้แก่
1. บางซื่อ (Bang Sue)
2. วงศ์สว่าง (Wong Sawang)
เขตพญาไท
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตพญาไทตั้งอยู่ทางฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตบางซื่อและเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตดินแดง มีถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตดินแดงและเขตราชเทวี มีถนนดินแดงฟากใต้และคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
อำเภอพญาไท
ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2509
ตั้งชื่อตามพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเป็นตำหนักสำหรับเสด็จประพาสบนที่ดินริมคลองสามเสน ทุ่งพญาไท
ช่วงแรกอำเภอพญาไทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล เป็นพื้นที่อำเภอดุสิตเดิม 5
ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี ตำบลมักกะสัน
และตำบลสามเสนใน และเป็นพื้นที่อำเภอบางกะปิเดิม 2 ตำบล ได้แก่
ตำบลห้วยขวางและตำบลสามเสนนอก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514
จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย อำเภอพญาไทได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น
เขตพญาไท ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวง
จากนั้นทางราชการได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่ปกครองของเขตพญาไทหลายครั้ง
เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความสมดุล เริ่มตั้งแต่ในปี
พ.ศ. 2516 แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิได้รับการยกฐานะเป็นเขตห้วยขวาง ต่อมาในปี
พ.ศ. 2521 แขวงดินแดงและบางส่วนของแขวงสามเสนในถูกโอนไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง
ในขณะที่พื้นที่บางส่วนของแขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิก็ถูกโอนมารวมกับแขวงสามเสนในและแขวงมักกะสัน
ในปี พ.ศ. 2532 พื้นที่ 4 แขวงทางทิศใต้ของเขตได้ถูกแยกออกไปตั้งเป็นเขตราชเทวี
การปรับปรุงเขตปกครองครั้งนี้ส่งผลให้เขตพญาไทเหลือแขวงสามเสนในอยู่เพียงแขวงเดียว
ส่วนพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขต
รวมทั้งถนนพญาไทก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของเขตอีกต่อไป แต่ไปอยู่ในเขตราชเทวีแทน
และสุดท้ายในปี พ.ศ. 2537 พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตก็ถูกแยกไปรวมกับเขตดินแดงที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตพญาไทมีหน่วยการปกครองย่อย
1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงสามเสนใน (Samsen Nai)
เขตจตุจักร
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตลาดพร้าว มีคลองบางบัวและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท มีคลองน้ำแก้ว คลองพระยาเวิก
และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตบางซื่อและอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี)
มีทางรถไฟสายเหนือและคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แต่เดิม
ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา
มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น
คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น
ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ
เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2507
อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย
ในปี
พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา
ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว
ขึ้นกับเขตบางเขน
ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก
พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต
กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร
พร้อมกับจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532
และเมื่อวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่
โดยแบ่งออกเป็น 5 แขวง เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต
เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงเดียว
แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงมีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก
การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น
ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร
แยกจากพื้นที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม
ปีเดียวกัน ทำให้ปัจจุบัน เขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng)
ได้แก่
1. ลาดยาว (Lat Yao)
2. เสนานิคม (Sena Nikhom)
3. จันทรเกษม (Chan Kasem)
4. จอมพล (Chom Phon)
5. จตุจักร (Chatuchak)
เขตวังทองหลาง
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย
โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
(ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบางกะปิ มีคลองทรงกระเทียม ถนนโชคชัย 4
ถนนสังคมสงเคราะห์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองจั่น คลองลำพังพวย ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
ถนนลาดพร้าว และคลองจั่นเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
พื้นที่เขตวังทองหลางในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งบางกะปิ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวพระนคร ห่างออกไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถือเป็นเขตชานเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเวิ้งว้างแต่มีความอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะที่ตั้งชุมชนบริเวณคลองแสนแสบซึ่งมีลักษณะคดโค้งเป็นห้วงน้ำลึกหรือ
"วัง" ขนาดใหญ่
ตลอดริมฝั่งคลองในช่วงนี้รวมไปถึงคลองเจ้าคุณสิงห์จะมีต้นทองหลาง (ทองหลางน้ำ)
ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ผู้คนจึงเรียกพื้นที่แถบนี้ว่า "วังทองหลาง" อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันได้มีการแบ่งและจัดตั้งพื้นที่การปกครองในระดับแขวงขึ้นใหม่
ส่งผลให้ชื่อและท้องที่แขวงวังทองหลางทุกวันนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับย่านวังทองหลางดั้งเดิมอีกต่อไป
ประวัติ
ตำบลวังทองหลาง
ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ
โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยในปี พ.ศ.
2506 ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย
ตำบลวังทองหลางได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงวังทองหลาง
อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
จนกระทั่งในวันที่
14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่
โดยรวมพื้นที่แขวงวังทองหลาง พื้นที่บางส่วนของแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
และพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าวจัดตั้งเป็น เขตวังทองหลาง
เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่
7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ทางกรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงวังทองหลางเต็มพื้นที่เขตวังทองหลางอย่างเป็นทางการ
เพื่อความชัดเจนในการปกครอง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21
พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตวังทองหลางได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก
5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง เขตหลักสี่ และเขตคลองสามวา
ต่อมาในวันที่
24 มกราคม พ.ศ. 2545
กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง โดยแบ่งพื้นที่เขตวังทองหลางเฉพาะทางฟากเหนือของถนนสังคมสงเคราะห์ไปรวมกับแขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าวแทน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ปีเดียวกัน ทั้งนี้
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่จะไปติดต่อราชการ
การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง
และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง[15]
โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตวังทองหลางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น
4 แขวง (khwaeng) โดยใช้ถนนลาดพร้าวและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
1. วังทองหลาง (Wang Thonglang)
2. สะพานสอง (Saphan Song)
3. คลองเจ้าคุณสิงห์ (Khlong Chaokhun Sing)
4. พลับพลา (Phlapphla)
เขตลาดพร้าว
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตพระนครเหนือ
ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ)
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตบางเขน มีคลองหลุมไผ่ คลองสามขา คลองโคกคราม
และคลองตาเร่งเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ และเขตวังทองหลาง
มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวาง มีถนนสังคมสงเคราะห์ ถนนโชคชัย 4
คลองทรงกระเทียม และคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองลาดพร้าวและคลองบางบัวเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
เดิมเขตลาดพร้าวมีฐานะเป็น
ตำบลลาดพร้าว ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร
ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร
เปลี่ยนเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย
ตำบลลาดพร้าวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงลาดพร้าว
และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางกะปิ
ต่อมาในวันที่
4 กันยายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้ง เขตลาดพร้าว และเขตบึงกุ่ม จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวใหม่
โดยแบ่งพื้นที่แขวงจรเข้บัวเฉพาะส่วนที่อยู่ฟากเหนือคลองโคกครามและคลองตาเร่งไปเป็นพื้นที่ของเขตบางเขน
และแบ่งพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าวไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง
ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
ที่ต้องการจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน
เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง
และในวันที่
24 มกราคม พ.ศ. 2545
กระทรวงมหาดไทยได้โอนพื้นที่บางส่วนของเขตวังทองหลางมาเป็นส่วนหนึ่งของแขวงลาดพร้าว
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตลาดพร้าวแบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น
2 แขวง ได้แก่
1. ลาดพร้าว (Lat Phrao)
2. จรเข้บัว (Chorakhe Bua)
การเมือง
เขตลาดพร้าวมีนักการเมืองในพื้นที่
ประกอบด้วย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เขต8(ลาดพร้าว-วังทองหลาง)จำนวน 1 คน ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม
2554 คือ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตลาดพร้าว จำนวน 1 คน ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2553 คือ
นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์
สมาชิกสภาเขตลาดพร้าว
จำนวน 7 คน ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2553 ดังนี้
นายสิทธิชัย
ศิลปสังข์เลิศ
นาย
อัทรัณ มานุพีรพันธ์
นาย
เฉลิมพล จินตนพันธุ์
นาย
วิเชียร ปัญญาภู
นาย
เปรม ชัยสุตานนท์
นางสาว
นพรัตน์ เล้านิรามัย
นาง
ศิริรัตน์ กลิ่นดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น