วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 บางคอแหลม,ยานาวา,สาทร,คลองสาน,บางรัก

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 
บางคอแหลม,ยานนาวา,สาทร,คลองสาน,บางรัก

รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบางคอแหลม
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตยานนาวา
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตสาทร
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตคลองสาน
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบางรัก

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

เขตบางคอแหลม
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสาทร มีคลองกรวย คูน้ำข้างซอยจันทน์ 34/2 (มิตรสามัคคี) และซอยจันทน์ 49 ซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 5 (อยู่ดี) ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี) ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน) ซอยจันทน์ 43 แยก 33 และซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตยานนาวา มีถนนสาธุประดิษฐ์ ถนนรัชดาภิเษก และคลองบางมะนาวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
พื้นที่เขตบางคอแหลมเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระประแดง ต่อมาอำเภอบ้านทะวายย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวาและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา

ภายหลังพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น รวมทั้งพื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 2 (แขวงบางคอแหลม) ดูแลพื้นที่เขตยานนาวา 3 แขวง คือ แขวงบางคอแหลม แขวงวัดพระยาไกร และแขวงบางโคล่ และต่อมาได้แยกเขตปกครองออกมาเป็น เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางคอแหลมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             บางคอแหลม         (Bang Kho Laem)
2.             วัดพระยาไกร        (Wat Phraya Krai)
3.             บางโคล่                  (Bang Khlo)

เขตยานนาวา
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตคลองเตย มีถนนจันทน์ คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์เก่า ถนนนางลิ้นจี่ ถนนเย็นอากาศ ซอยเชื้อเพลิง 4 (ศรีรุ้ง) และแนวทางรถไฟสายช่องนนทรีเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระประแดงและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตสาทร มีถนนรัชดาภิเษกและถนนสาธุประดิษฐ์เป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
แต่เดิมบริเวณยานนาวา (รวมสาทรและบางคอแหลม) มีชื่อเรียกว่า "บ้านทะวาย" เนื่องจากมีชาวเมืองทวายอาศัยอยู่จำนวนมาก เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณนี้จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบ้านทะวาย ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระประแดง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอยานนาวา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือหลักตามวัดยานนาวาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากชื่อบ้านทะวายมีสำเนียงเป็นภาษาต่างด้าว

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอยานนาวาจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตยานนาวา มีพื้นที่การปกครอง 8 แขวง ได้แก่ แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม และแขวงวัดพระยาไกร

ต่อมาพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงจัดตั้งสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (ยานนาวา) และสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 2 (บางคอแหลม) ขึ้นดูแลพื้นที่บางส่วนในปี พ.ศ. 2532 และได้ยกฐานะเป็นสำนักงานเขตสาทรและสำนักงานเขตบางคอแหลมในปีเดียวกัน ส่วนวัดยานนาวาและแขวงยานนาวาซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขตนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตสาทร

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตยานนาวาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) ได้แก่

ช่องนนทรี (Chong Nonsi)
บางโพงพาง (Bang Phongphang)

เขตสาทร
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางรักและเขตปทุมวัน มีคลองสาทรและถนนพระรามที่ 4 ฝั่งใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองเตยและเขตยานนาวา มีแนวทางรถไฟสายช่องนนทรี ซอยเชื้อเพลิง 4 (ศรีรุ้ง) และถนนเย็นอากาศเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตยานนาวาและเขตบางคอแหลม มีถนนนางลิ้นจี่ ถนนจันทน์เก่า คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) ซอยจันทน์ 43 แยก 33 ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน) ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 5 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี) คูน้ำข้างซอยจันทน์ 34/2 (มิตรสามัคคี) และซอยจันทน์ 49 และคลองกรวยเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
พื้นที่เขตสาทรเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระประแดง ต่อมาอำเภอบ้านทะวายย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวาและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา

ภายหลังพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงได้รวมแขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงทุ่งมหาเมฆให้อยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (แขวงยานนาวา) และท้องที่ดังกล่าวได้ยกฐานะเป็น เขตสาธร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตยานนาวา ตั้งเขตสาธรและเขตบางคอแหลม โดยนำชื่อคลองและถนนสาธรมาตั้งเป็นชื่อของเขตโดยอนุโลม

ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงชื่อ "เขตสาธร" เป็น เขตสาทร เนื่องจากคำว่าสาธรไม่มีความหมายในพจนานุกรม ส่วนคำว่าสาทรมีความหมายว่า เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ "หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)" ขุนนางและคหบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขุดคลองอันเป็นที่มาของชื่อเขต ดังนั้นชื่อเขตสาธร คลองสาธร ถนนสาธรเหนือ ถนนสาธรใต้ และซอยย่อยของถนนสาธร จึงต้องเขียนเป็น "สาทร" ทั้งหมด

เขตคลองสาน
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกสุดของ ฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางรักและเขตสาทร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลม มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขตเช่นกัน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตธนบุรี มีคลองบางไส้ไก่ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปกเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
เขตคลองสานเดิมมีฐานะเป็น อำเภอบางลำภูล่าง อยู่ในเขตปกครองของจังหวัดธนบุรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบุปผาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอบุปผารามเป็น อำเภอคลองสาน ในปี พ.ศ. 2459 เนื่องจากมีขณะนั้นที่ตั้งอำเภออยู่ที่วัดทองนพคุณในเขตตำบลคลองสาน

ในปี พ.ศ. 2481 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรียุบรวมอำเภอและยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ โดยอำเภอคลองสานได้ถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอคลองสาน ขึ้นกับอำเภอบางยี่เรือ (พ.ศ. 2482 อำเภอบางยี่เรือได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอธนบุรี)

ต่อมาในพื้นที่กิ่งอำเภอคลองสานมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2500 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้ง อำเภอคลองสาน ขึ้นอีกครั้ง

ครั้นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและมีฐานะเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอคลองสานจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตคลองสานแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             สมเด็จเจ้าพระยา  (Somdet Chao Phraya)
2.             คลองสาน              (Khlong San)
3.             บางลำภูล่าง          (Bang Lamphu Lang)
4.             คลองต้นไทร          (Khlong Ton Sai)

เขตบางรัก
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีถนนพระรามที่ 4 ฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทร มีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
อำเภอบางรัก ก่อตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในวันที่ 5 มิถุนายน ร.ศ. 127 หรือ พ.ศ. 2450 โดยรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล และเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ

ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง

ที่มาของชื่อเขต
มีการสันนิษฐานที่มาไว้หลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อแรกที่ว่าบริเวณเขตบางรักนี้เคยมีคลองเล็กๆ ที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และมีผู้พบซุงไม้รักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่าบางรัก หรืออีกกระแสหนึ่งที่เชื่อว่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ

บ้างก็ว่าชื่อบางรักนั้นมาจากโรงหมอหรือโรงพยาบาลในสมัยนั้นซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่สำคัญของอำเภอ จึงได้ชื่อว่าเป็น "อำเภอบางรักษ์" และเรียกเพี้ยนมาเป็นบางรักอย่างในปัจจุบัน ส่วนที่มาสุดท้ายเชื่อกันว่า เดิมเขตบางรักในอดีตเรียกกันว่าคลองบางขวางล่างใต้ เป็นย่านที่มีคนมากมายหลากหลายอาชีพทั้งกะลาสีลูกเรือฝรั่งต่างชาติอยู่รวมกัน เป็นแหล่งกินแหล่งเที่ยวที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตายบ่อยครั้ง ชาวบ้านในแถบนั้นจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่าบางรักแทนชื่อเดิม

บางรักในวันนี้ก็ถือเป็นชื่อที่เป็นมงคลเกี่ยวกับเรื่องความรัก จนทำให้ในวันวาเลนไทน์ของทุกปี มักจะมีคนไปจดทะเบียนกันที่เขตบางรักมากเป็นพิเศษเพราะเชื่อกันว่าจะมีความรักสดชื่นสดใสเหมือนชื่อเขต

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางรักแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng) ได้แก่
มหาพฤฒาราม (Maha Phruettharam)
สีลม (Si Lom)
สุริยวงศ์ (Suriyawong)
บางรัก (Bang Rak)

สี่พระยา (Si Phraya)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น