รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132
เขตคลองเตย,พระโขนง,บางนา,ประเวศ,สวนหลวง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตพระโขนง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบางนา
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตประเวศ
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตสวนหลวง
เข้าดูผลงานที่ http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html
เขตคลองเตย
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตเจ้าพระยา
ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ
เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวขอบทางสุขุมวิท
52 (ซอยศิริพร) และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน
มีแนวเขตทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่
14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง
เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ
(อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
1)
เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่
5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของ เมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น
ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร
และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น
แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น
พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532
กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย)
ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.
2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ 3 แขวงดังกล่าวตั้งเป็น เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร
จนกระทั่งในวันที่
31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ
และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม
และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1
ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาในปี พ.ศ. 2540
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย
3 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. คลองเตย (Khlong Toei)
2. คลองตัน (Khlong Tan)
3. พระโขนง (Phra Khanong)
เขตพระโขนง
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตพระโขนงตั้งอยู่ทางใต้ของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตคลองเตย เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง มีแนวขอบทางซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร)
ซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) คลองบางนางจีน คลองขวางบน คลองสวนอ้อย แนวลำราง
คลองบ้านหลาย ลำรางแยกคลองบ้านหลาย ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล)
ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) และซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์)
เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตสวนหลวงและเขตประเวศ มีคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตบางนา มีถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) ซอยวชิรธรรมสาธิต 32
(จุฬา 4) ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และคลองบางอ้อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ)
มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
เขตพระโขนงเดิมมีฐานะเป็น
อำเภอพระโขนง เป็นเขตการปกครองของเมืองนครเขื่อนขันธ์
ปรากฏชื่อเท่าที่สืบค้นได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445
(เมืองนครเขื่อนขันธ์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดงในปี พ.ศ. 2457
และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดพระประแดงในปี พ.ศ. 2459) ในสมัยแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่สามแยกวัดมหาบุศย์
(บริเวณที่คลองตันบรรจบคลองพระโขนง) แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่
ตำบลคลองเตย ตำบลคลองตัน ตำบลพระโขนง ตำบลสวนหลวง ตำบลศีรษะป่า (หัวป่า)
ตำบลคลองประเวศ ตำบลทุ่งดอกไม้ ตำบลหนองบอน ตำบลบางจาก ตำบลบางนา ตำบลสำโรง และตำบลบางแก้ว
จากนั้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่วัดสะพาน ริมทางรถไฟสายปากน้ำ เมื่อปี พ.ศ.
2459
จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2470
ทางราชการได้โอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครเพื่อความสะดวกในการปกครอง
ก่อนที่จังหวัดพระประแดงจะถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับจังหวัดธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ
5 ปี และเนื่องจากท้องที่อำเภอพระโขนงเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม
และที่พักอาศัยหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2479
ทางราชการจึงได้ตั้งเทศบาลนครกรุงเทพโดยโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองเตยเข้าไปในท้องที่
และได้ขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมตำบลอื่น ๆ เกือบทั้งหมดในอำเภอภายในปี พ.ศ. 2507
ในช่วงนี้ที่ว่าการอำเภอพระโขนงได้ย้ายจากวัดสะพานมาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท
(ที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน) แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495
ในปี
พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล
รวมทั้งเปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงด้วย
อำเภอพระโขนงจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระโขนง แบ่งออกเป็น 9
แขวงตามจำนวนตำบลที่มีอยู่เดิมก่อนการปรับปรุงรูปแบบการบริหารเมืองหลวง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น
ในปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาของเขตพระโขนงขึ้น 3
แห่งขึ้นดูแลท้องที่ต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และในปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ยกฐานะท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1
และสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 เป็นเขตคลองเตยและเขตประเวศตามลำดับ
(ส่วนท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 โอนไปเป็นของเขตประเวศจนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง)
เมื่อปี
พ.ศ. 2541 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงอีกครั้ง
โดยแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากได้รับการยกฐานะเป็นเขตบางนา
ท้องที่เขตพระโขนงจึงเหลือแขวงบางจากอยู่เพียงแขวงเดียว
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตพระโขนงมีเขตการปกครองย่อย
1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงบางจาก (Bang Chak)
เขตบางนา
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้
สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
(ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตพระโขนงและเขตประเวศ มีคลองบางอ้อ ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต)
ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4) ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) ถนนอุดมสุข
และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองสาหร่าย คลองบางนา
และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ (จังหวัดสมุทรปราการ)
มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ และซอยสุขุมวิท
107 (แบริ่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ)
มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น
ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง
(เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470
ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน
เพื่อความสะดวกในการปกครอง แต่ในปี พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง
(ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว)
อีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า
ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน
ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น
ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2498
ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย
ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2506 จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อปี
พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล
ในปี
พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515
จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล
รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ
ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง
ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น
ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง
ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน
เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540
กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง
โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7
พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนาอย่างเป็นทางการ
เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่
6 มีนาคม พ.ศ. 2541
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางนามีเขตการปกครองย่อยเพียง
1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงบางนา
เขตประเวศ
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตศรีนครินทร์
ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์ชุมชนชานเมือง แหล่งงานและการบริการเพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตประเวศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย)
เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตลาดกระบังและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองแม่จันทร์
คลองตาพุก คลองขันแตก คลองสิงห์โต คลองปากน้ำ คลองสลุด
และคลองอาจารย์เกตุเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) และเขตบางนา
มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองต้นตาล
คลองปลัดเปรียง คลองหนองตาดำ คลองสาหร่าย และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตบางนา เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง มีคลองเคล็ด คลองตาสาด (คลองคู้)
คลองหนองบอน คลองประเวศบุรีรมย์ ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข
และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
เขตประเวศเดิมมีฐานะเป็น
ตำบลประเวศ เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง
ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครในปี พ.ศ. 2470 เมื่อเวลาผ่านไป
ท้องที่อำเภอพระโขนงมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม
และที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2506
ทางราชการจึงได้ตั้งสุขาภิบาลประเวศขึ้นครอบคลุมพื้นที่ตำบลประเวศ ตำบลสวนหลวง
ตำบลดอกไม้ ตำบลหนองบอนทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางจากและตำบลบางนา และในปี
พ.ศ. 2507 พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ได้ถูกโอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ
(ซึ่งขยายเขตออกมาเป็นครั้งที่ 3)
เหลือเพียงตำบลประเวศและตำบลดอกไม้ที่ยังคงอยู่ในเขตสุขาภิบาล
ในปี
พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล
รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ
ตำบลประเวศจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงประเวศ
เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น
รวมทั้งพื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2532
กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 (ประเวศ) ขึ้นดูแลแขวงประเวศ
แขวงหนองบอน แขวงดอกไม้ และแขวงสวนหลวง (ต่อมาแขวงสวนหลวงโอนไปอยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตพระโขนง
สาขา 3) และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็น เขตประเวศ
แบ่งออกเป็น 4 แขวง ซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วยและคงฐานะเป็นสำนักงานเขตประเวศ
สาขาสวนหลวง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง
ต่อมาในวันที่
14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองของเขตประเวศใหม่อีกครั้งหนึ่ง
โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูง (เขตบึงกุ่ม) และหมู่ที่ 7-12 แขวงประเวศ
(พื้นที่เขตประเวศทางด้านเหนือของถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย)
ไปจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูง
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตประเวศมีหน่วยการปกครองย่อย
3 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. ประเวศ (Prawet)
2. หนองบอน (Nong Bon)
3. ดอกไม้ (Dokmai)
เขตสวนหลวง
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้
สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตสวนหลวงตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ และเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบ คลองกะจะ
คลองหัวหมาก ลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตประเวศ มีคลองบึงบ้านม้า ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข
คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนองบอนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตประเวศและเขตพระโขนง มีคลองตาสาด (คลองคู้) คลองเคล็ด
ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง)
ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) ลำรางแยกคลองบ้านหลาย คลองบ้านหลาย แนวลำราง
คลองสวนอ้อย และคลองขวางบนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองบางนางจีนและคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น
ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาในปี พ.ศ.
2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้โอนอำเภอพระโขนงรวมทั้งตำบลสวนหลวงมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร โดยตำบลสวนหลวงได้กลายเป็นเป็นท้องที่หนึ่งในเขตสุขาภิบาลประเวศที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี
พ.ศ. 2506 จนกระทั่งได้รับการโอนไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพตั้งแต่ปี พ.ศ.
2508
ในปี
พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515
จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย
ตำบลสวนหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสวนหลวง
เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังท้องที่เขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น
พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน
ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3
(สวนหลวง) ดูแลพื้นที่แขวงสวนหลวง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็นเขตประเวศ
แบ่งออกเป็น 4 แขวงซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย
เนื่องจากยังไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเขตใหม่
จึงให้คงฐานะเป็นสำนักงานเขตสาขาไว้ก่อน สำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3
จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง
จนกระทั่งในวันที่
8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่
โดยรวมพื้นที่แขวงสวนหลวง บางส่วนของแขวงประเวศ เขตประเวศ
และบางส่วนของแขวงคลองตัน บางส่วนของแขวงพระโขนง เขตคลองเตย มาจัดตั้งเป็น
เขตสวนหลวง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน
และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน
กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงสวนหลวงเต็มพื้นที่เขต โดยประกาศทั้ง 2
ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตสวนหลวงมีเขตการปกครองย่อยเพียง
1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงสวนหลวง (Suan Luang)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น