รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132
เขตบางขุนเทียน,ทุ่งครุ,ราษฎร์บูรณะ,จอมทอง,ธนบุรี
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตทุ่งครุ
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตราษฎร์บูรณะ
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตจอมทอง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตธนบุรี
เข้าดูผลงานที่ http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html
เขตบางขุนเทียน
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้
สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า
และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย
(เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตบางบอนและเขตจอมทอง มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย คลองวัดสิงห์
คลองสนามชัย คลองวัดกก คลองบัว (คลองตาเปล่ง) และคลองตาสุกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตทุ่งครุและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางมด
คลองรางแม่น้ำ คลองรางด้วน (คลองสวน) คลองรางกะนก คลองนา คลองหัวกระบือ
และคลองขุนราชพินิจใจ (คลองกง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
จรดอ่าวไทย
ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลพันท้ายนรสิงห์และตำบลบางน้ำจืด
อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร
คลองบางเสาธง แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองสอง
คลองแยกพะเนียง คลองตาแม้น คลองแสมดำใต้ และคลองแสมดำเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
มีคำบอกเล่าว่า
ย่านบางขุนเทียน (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตจอมทอง)
เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี
โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นำทำหน้าที่คุ้มกันประจำกองเรียกว่า "ขุน"
บริเวณที่หยุดรวมกองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า "บางขุนเกวียน"
แล้วเพี้ยนเป็น "บางขุนเกียน" ต่อมาเขียนสะกดเป็น
"บางขุนเทียน" ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า
ชื่อบางขุนเทียนมาจากนามและตำแหน่งบุคคลว่า "ขุนเทียร"
เป็นขุนนางรักษาสวนหลวงที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง
ประวัติศาสตร์
อำเภอบางขุนเทียน
เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4[2] เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410
เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ
(บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น
ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479
โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย
และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี
พ.ศ. 2508
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร
แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล
อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด
แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ
ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก
เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง
กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง
ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540
ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน
เขตทุ่งครุ
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้
สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นหลักทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งธนบุรี
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตราษฎร์บูรณะ มีลำรางสาธารณะ คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ
คลองตาเทียบ คลองราษฎร์บูรณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ ลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน
และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางพึ่ง ลำรางสาธารณะ
คลองขุดเจ้าเมือง และคลองรางใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางจาก คลองกะออมใน
คลองท่าเกวียน คลองตาสน และคลองกะออมเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีคลองรางแม่น้ำและคลองบางมดเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
ความหมายของคำว่า
" ทุ่งครุ " ตามพจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 มิได้ให้
คำจำกัดความของคำว่า " ทุ่งครุ " ไว้เป็นการเฉพาะ
แต่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า " ทุ่ง " กับ " ครุ " ไว้ว่า
" ทุ่ง " หมายถึง ที่ราบโล่ง " ครุ " หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำรูปกลมๆ
ยาชัน เมื่อนำความหมายของคำจำกัดความทั้งสองมารวมกัน น่าจะหมายถึง "
พื้นที่ราบโล่ง ใช้สาน ภาชนะตักน้ำรูปกลมๆ ยาชัน "
จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในอดีตท้องที่เขตทุ่งครุ เป็นที่ราบโล่ง ลุ่ม
มีแหล่งน้ำหลายแห่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนประกอบอาชีพเกษตร- กรรม ทำสวนและมีฝีมือทางการจักสาน
ประวัติ
เดิมทุ่งครุมีฐานะเป็น
ตำบลทุ่งครุ ขึ้นอยู่กับอำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี
ต่อมาอำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระประแดงอยู่ช่วงหนึ่ง
จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอราษฎร์บูรณะรวมทั้งตำบลทุ่งครุจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง
และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำบลและอำเภอใหม่ด้วย
ตำบลทุ่งครุจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงทุ่งครุ ขึ้นกับสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
จนกระทั่งวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง
เขตทุ่งครุ ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกมา 2 แขวง
การแบ่งเขตการปกครอง
ท้องที่สำนักงานเขตทุ่งครุแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น
2 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. บางมด (Bang Mot)
2. ทุ่งครุ (Thung Khru)
เขตราษฎร์บูรณะ
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน
ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
(ฝั่งธนบุรี) และจัดอยู่ในกลุ่มเขตตากสิน
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตบางคอแหลม
มีคลองดาวคะนองและแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตยานนาวา และอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ)
มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางพึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตทุ่งครุ มีลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน ลำรางสาธารณะ
คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ คลองราษฎร์บูรณะ คลองตาเทียบ
และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตจอมทอง มีคลองกอไผ่ขวด คลองยายจำปี คลองบางปะแก้ว
และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
ความหมายของชื่อเขตที่เป็นอยู่ในขณะนี้
มาจากคำว่า "ราษฎร์" + "บูรณะ" มาเป็น
"ราษฎร์บูรณะ" ตามพจนานุกรม "ราษฎร์" แปลว่า
"พลเมืองของประเทศ" หรือ "แว่นแคว้นบ้านเมือง"
"บูรณะ" แปลว่า "ทำให้เต็ม ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม"
เมื่อนำมาสมาสรวมกันเป็น "ราษฎร์บูรณะ" จึงมีความหมายได้เป็นสองนัย คือ
พลเมืองของประเทศช่วยกันสร้างขึ้นหรือรวบรวมกันตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน อำเภอหนึ่ง
และอีกนัยหนึ่งมีความหมายว่า เป็นเมืองที่ราษฎรช่วยกันค้ำจุนส่งเสริม
และบำรุงรักษาทุกวิถีทางที่จะให้เป็นเมืองที่มีความเจริญยิ่งๆ
ขึ้นสมกับเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และให้มีความเจริญเท่าเทียมกับเขตอื่น
ประวัติศาสตร์
ท้องที่เขตราษฎร์บูรณะเดิมเป็นเขตแดนหนึ่งของกรุงธนบุรี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาเมืองนี้เป็นราชธานี
ต่อมาในช่วงปฏิรูปการปกครอง บริเวณนี้ได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอราษฎร์บูรณะ
ขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี
อำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปเป็นเขตปกครองของจังหวัดนครเขื่อนขันธ์
(พระประแดง) อยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอราษฎร์บูรณะจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง
และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ด้วย
อำเภอราษฎร์บูรณะจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2540
ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตราษฎร์บูรณะออกไปจัดตั้งเป็นเขตทุ่งครุ
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตราษฎร์บูรณะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น
2 แขวง (khwaeng) ได้แก่
ราษฎร์บูรณะ
(Rat Burana)
บางปะกอก
(Bang Pakok)
เขตจอมทอง
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตตากสิน
ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีลำรางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ
คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง
คลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์)
และคลองแยกบางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว
คลองยายจำปี คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองบางมด คลองตาสุก และคลองบัว
(คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลองวัดกก คลองสนามชัย
คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
มาจากชื่อวัดจอมทอง
ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าวัดเจ้าทอง บ้างก็ว่าวัดกองทอง
นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปัจจุบันวัดจอมทองมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ประวัติศาสตร์
บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน
จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้น
เนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน
ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479
โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย
และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี
พ.ศ. 2508 ซึ่ง ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513
โดยโอนพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา
ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร
เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร
ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น
แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9
พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น
โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง
ต่อมาในวันที่
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก
เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง
เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่
โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต
การแบ่งเขตการปกครอง
ท้องที่สำนักงานเขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น
4 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. บางขุนเทียน (Bang Khun Thian)
2. บางค้อ (Bang Kho)
3. บางมด (Bang Mot)
4. จอมทอง (Chom Thong)
เขตธนบุรี
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ
ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า
แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่น เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร
มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตคลองสาน มีสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า
(บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
และคลองบางไส้ไก่ เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ
มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ มีคลองบางสะแก คลองแยกบางสะแก 13
คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) คลองด่าน
และคลองบางหลวงน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
เขตธนบุรีเดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล
ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์
(ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ) ต่อมาเมื่อวันที่ 11
กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น
อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ
และในวันที่
17 เมษายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้มีการยุบจังหวัดธนบุรีรวมกับจังหวัดพระนครให้มีฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
ดังนั้น เพื่อรักษาคำว่า "ธนบุรี"
ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
(สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ประกอบกับอำเภอบางยี่เรือนี้เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย
จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางยี่เรือเป็น อำเภอธนบุรี
และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในเวลาต่อมา
ครั้นในวันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี
เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง
เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคล
แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง
การแบ่งเขตการปกครอง
มุมมองวัดกัลยาณมิตรจากแม่น้ำเจ้าพระยา
วันที่
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น
ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง แยกจากพื้นที่แขวงบุคคโล
แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม
ปีเดียวกัน[1] ทำให้ปัจจุบัน เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง (khwaeng)
ได้แก่
1. วัดกัลยาณ์ (Wat Kanlaya)
2. หิรัญรูจี (Hiran Ruchi)
3. บางยี่เรือ (Bang Yi Ruea)
4. บุคคโล (Bukkhalo)
5. ตลาดพลู (Talat Phlu)
6. ดาวคะนอง (Dao Khanong)
7. สำเหร่ (Samre)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น