รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132
เขตปทุมวัน,ราชเทวี,วัฒนา,ดินแดง,ห้วยขวาง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตราชเทวี
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตวัฒนา
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตดินแดง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตห้วยขวาง
เข้าดูผลงานที่ http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html
เขตปทุมวัน
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้
ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา
และการทูต
เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตดุสิตและเขตราชเทวี มีคลองมหานาคและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตคลองเตย มีแนวทางรถไฟสายช่องนนทรีเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตสาทรและเขตบางรัก มีถนนพระรามที่ 4 ฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ
ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
จึงโปรด ฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ
และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม(วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน
ประวัติศาสตร์
อำเภอปทุมวัน
ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อปี พ.ศ. 2457
โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์)
เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน
และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506
ในปี
พ.ศ. 2515
ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี
อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น
4 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. รองเมือง (Rong Mueang)
2. วังใหม่ (Wang Mai)
3. ปทุมวัน (Pathum Wan)
4. ลุมพินี (Lumphini)
การคมนาคม
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่
ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท)
ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4
เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่
ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท
ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน
ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง และทางพิเศษเฉลิมมหานคร
หัวลำโพง
ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร
รถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ
ในระบบขนส่งมวลชน
เขตปทุมวันมีรถไฟใต้ดิน พร้อมด้วยสถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม
และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้
ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อสายสีลมกับสายสุขุมวิท
สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขต ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริ
(สายสีลม) สถานีชิดลม และสถานีเพลินจิต (สายสุขุมวิท)
การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่
คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ
เขตราชเทวี
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
ชื่อเขตตั้งตามสี่แยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี
โดยมาจากชื่อ สะพานพระราชเทวี ซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว)
บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี
โดยคำว่า
"พระราชเทวี" ตั้งตามพระนาม พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี
พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)
ประวัติศาสตร์
พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล
4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน
ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับอำเภอดุสิต และต่อมาในปี
พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท
เมื่อปี
พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี
อำเภอพญาไทเปลี่ยนฐานะเป็นเขตพญาไท ตำบลต่าง ๆ ในท้องที่จึงมีฐานะเป็นแขวง
ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น
เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่ 4
แขวงทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536
ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น
4 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. ทุ่งพญาไท (Thung Phaya Thai)
2. ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai)
3. ถนนเพชรบุรี (Thanon Phetchaburi)
4. มักกะสัน (Makkasan)
เขตวัฒนา
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้
ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตริมฟากถนนสุขุมวิทฝั่งเลขคี่ ตั้งแต่ซอยสุขุมวิท 1 ถึงซอยสุขุมวิท 81
โดยติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตห้วยขวาง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีคลองตัน คลองพระโขนง และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้
ติดต่อกับเขตพระโขนงและเขตคลองเตย มีซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์)
และถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีแนวเขตทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
เมื่อวันที่
31 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีประกาศกรุงเทพมหานคร ให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย
เป็นเขตคลองเตย และเขตคลองเตย สาขา 1 แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 แขวง
โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต โดยให้พื้นที่แขวงทางทิศเหนือของถนนสุขุมวิท
ประกอบด้วยแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือเป็นพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตยสาขา
1 ส่วนเขตการปกครองด้านทิศใต้ ประกอบด้วยแขวงคลองเตยแขวงคลองตัน
และแขวงพระโขนงเป็นพื้นที่เขตการปกครองของเขตคลองเตย (ปัจจุบัน)
ต่อมาได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540
เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย และแต่งตั้งเขตคลองเตย สาขา 1 เป็นเขตวัฒนา
ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541
โดยชื่อ
วัฒนา นั้น เป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 16
มิถุนายน พ.ศ. 2540
สถานที่ต่าง
ๆ
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท
สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท
โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
เขตดินแดง
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตดินแดงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อ คลองพระยาเวิก และคลองน้ำแก้วเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตราชเทวี มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตพญาไท มีถนนวิภาวดีรังสิตเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตดินแดงในอดีตเป็นทุ่งนากว้างขวางเช่นเดียวกับท้องที่รอบนอกแห่งอื่น
ๆ ในจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
มีการตัดถนนต่อจากปลายถนนราชวิถีตรงหัวมุมที่บรรจบกับถนนราชปรารภ (ปัจจุบันคือบริเวณสะพานพรหมโยธี
ใกล้ทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง เขตราชเทวี) เข้ามาในพื้นที่
และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา (ถนนประชาสงเคราะห์) ในปัจจุบัน
ต่อมาถนนสายนี้ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในพื้นที่
แต่เนื่องจากใช้ดินลูกรังเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เมื่อรถยนต์วิ่งผ่านจึงทำให้เกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว
หลังคาบ้านเรือนถูกฝุ่นจับกลายเป็นสีแดง ผู้คนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า
"ถนนดินแดง" และเรียกย่านนั้นว่า "ดินแดง"
ภายหลังเมื่อทางราชการมีนโยบายเพิ่มเขตการปกครองใหม่ในกรุงเทพมหานคร ก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของแขวงและเขตด้วย
ประวัติ
แต่เดิมพื้นที่เขตดินแดงเป็นส่วนหนึ่งของตำบลสามเสนในและตำบลสามเสนนอก
อำเภอบางซื่อ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2481
(รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล)
ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน
ทำให้อำเภอบางซื่อถูกยุบลง ตำบลสามเสนในจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอดุสิต
ส่วนตำบลสามเสนนอกย้ายไปขึ้นกับอำเภอบางกะปิ ต่อมาในปี พ.ศ. 2509
ทางราชการได้โอนตำบลสามเสนในมาขึ้นกับอำเภอพญาไทที่ตั้งขึ้นใหม่
ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันออกของแขวงสามเสนในเพิ่งได้รับการยกฐานะเป็น แขวงดินแดง
ขึ้นกับเขตพญาไท
หลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเมืองหลวงเป็นกรุงเทพมหานครไปแล้ว
ต่อมาในปี
พ.ศ. 2521 จึงมีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมในการปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ภายหลังเขตห้วยขวางมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น
อีกทั้งท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงดินแดงยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก
ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในปี พ.ศ. 2532
กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตห้วยขวาง สาขาดินแดงขึ้น
เพื่อดูแลพื้นที่แขวงดินแดง
และในวันที่
8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมพื้นที่แขวงดินแดง
บางส่วนของแขวงห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนใน
เขตพญาไท และบางส่วนของแขวงมักกะสัน เขตราชเทวี มาจัดตั้งเป็น เขตดินแดง ขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ
และการให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องที่ และในวันที่ 21 ตุลาคม
ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงดินแดงเต็มพื้นที่เขตดินแดง
โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.
2537
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตดินแดงมีเขตการปกครองย่อยเพียง
1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงดินแดง (Din Daeng)
เขตห้วยขวาง
เป็น
1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง
ถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตห้วยขวางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับเขตจตุจักรและเขตลาดพร้าว มีคลองน้ำแก้วและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับเขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง
มีคลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้
ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตดินแดง มีถนนอโศก-ดินแดงและถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
ในอดีตฤดูฝนของเขตนี้เต็มไปด้วยบึงใหญ่เนื่องจากเป็นที่ลุ่มต้องเดินทางด้วยเรือ
และมีห้วยขวางอยู่เสมอ
ประวัติ
เขตห้วยขวาง
ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2516 โดยแยกพื้นที่การปกครองมาจากเขตพญาไท
2 แขวง คือ แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิ จากนั้นในปี พ.ศ. 2521
ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงจากเขตพญาไทและแขวงสามเสนนอกจากเขตบางกะปิมารวมกับเขตห้วยขวาง
และโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปรวมกับเขตพญาไท เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสม
ทำให้เขตห้วยขวางมีพื้นที่ปกครอง 4 แขวง
จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตห้วยขวาง
โดยแยกแขวงดินแดงไปจัดตั้งเป็นเขตดินแดง
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตห้วยขวางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น
3 แขวง (khwaeng) ได้แก่
ห้วยขวาง
(Huai Khwang)
บางกะปิ
(Bang Kapi)
สามเสนนอก
(Samsen Nok)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น