วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า โทร. 083-5557706 หรือ 085-3537363

รถยก รถลาก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า

โทร. 083-5557706 หรือ 085-3537363



  CKรถยก&รถสไลด์  
โทร. 083-5557706 หรือ 085-3537363
[รายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง]

รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า


ในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สามารถช่วยให้การนำรถไปใช้ยังพื้นที่ต่างๆหรือการยกรถ เคลื่อนย้ายรถยนต์ที่มีปัญหากับระบบขับเคลื่อนไปทำการซ่อมแซมได้อย่างง่าดายและสะดวกสบาย บริการรถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า ให้ความใส่ใจในการยกรถและเคลื่อนย้ายรถยนต์แต่ละคันด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวังอย่างสูงสุด เพื่อไม่ทำให้รถเกิดความเสียหายหรือเกิดรอยขีดข่วนจนทำให้คุณต้องกังวล ในขณะที่ราคาค่าบริการเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่แพงอย่างที่คิด ทำให้คุณรู้สึกสบายใจทุกครั้งที่เลือกใช้บริการของเรา

หลายคนไม่อยากใช้บริการรถยก รถลาก เพราะกลัวว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูง และกลัวว่ารถยนต์คันโปรดหรือรถยนต์ราคาแพงที่อยู่ในความดูแลจะเกิดความเสียหาย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเลือกใช้บริการรถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า สิ่งที่คุณกังวลเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเรามีการดูแลรถยนต์เป็นอย่างดีและทำการเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี ไม่ทำให้รถเกิดความเสียหาย และมีค่าบริการที่ถูกมาก

รถยนต์สมัยใหม่หลายประเภทไม่สามารถทำการเคลื่อนย้ายด้วยวิธียกช้อนล้อหน้า เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายกับตัวรถ ดังนั้นการเลือกวิธีเคลื่อนย้ายรถด้วยการสไลด์ด้วยถาดนอนพื้นจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัย บริการรถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า ที่มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์สูงจะทำการเคลื่อนย้ายรถยนต์ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับรถแต่ละประเภท และมีอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายที่มีความแข็งแรงแน่นหนาเพียงพอ เพื่อป้องกันรถเลื่อนไถลขณะเคลื่อนย้ายจนไปชนเข้ากับสิ่งกีดขวางต่างๆจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายได้

รถที่ต้องการนำไปใช้งานในพื้นที่ต่างๆอย่าง รถกอล์ฟรถโฟล์คลิฟท์ รถแบคโฮเล็ก รถแทรคเตอร์ เป็นรถที่ไม่สามารถใช้ระบบขับเคลื่อนไปท้องถนนด้วยตัวเองเป็นระยะทางไกลๆ บริการรถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้าพร้อมยกรถไปส่งให้ถึงปลายทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วและเกิดความเสียหาย มีการล็อกรถอย่างแน่นหนาและดูแลรถยนต์ระหว่างการขนย้ายเป็นอย่างดีตลอดเส้นทาง




รถยนต์หรูราคาแพงที่ต้องการนำไปส่งให้กับลูกค้า ย้ายรถยนต์ระหว่างโชว์รูม ขนย้ายรถยนต์ข้ามจังหวัด สามารถใช้บริการรถลาก รถยก รถสไลด์ เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า ที่มีความรับผิดชอบสูงและมีระบบการขนย้ายที่ปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายรถยนต์เหล่านี้ เราจะมีการจำกัดความเร็วในระหว่างการขนย้ายเพื่อการควบคุมรถที่สมบูรณ์ในทุกสถานการณ์เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และทำให้การขนย้ายเป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด เพิ่มความมั่นใจอีกขั้นด้วยประกันความเสียหายและประกันอุบัติเหตุในระหว่างการขนย้ายตลอดเส้นทาง

รับชมภาพผลงานเรา..

**** บริการรถสไลด์ รถยก รถลากจูง เขตมีนบุรี,ร่มเกล้า
เรามีเครือข่ายพร้อมให้บริการทั่วประเทศ ตลอด24ชั่วโมง
ขอรับรองว่าราคาที่เราให้บริการนั้น ลูกค้าของเราจะได้ผลตอบแทนที่เรียกได้ว่าคุ้มสุดคุ้ม ****

สนใจติดต่อสอบถาม
Tel. 083-5557706 หรือ 085-3537363
Line ID: ckrodyok

เขตมีนบุรี
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ่

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตมีนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) ลำรางคูคต ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ถนนหทัยราษฎร์ ลำรางโต๊ะสุข คลองเจ๊ก ลำรางสามวา คลองสามวา ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) คลองลำบึงไผ่ และคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำต้นไทร และคลองลำนกแขวกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองบึงใหญ่ ลำรางตาทรัพย์ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า คลองตาเสือ ลำรางศาลเจ้า ลำรางคอวัง คลองสองต้นนุ่น และคลองลำนายโสเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว มีคลองลาดบัวขาว คลองแสนแสบ และคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
คำว่ามีนบุรีแปลว่า "เมืองปลา" เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2445[3] โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า "เมืองข้าว"

ประวัติ
เขตมีนบุรีในอดีตเป็นท้องที่หนึ่งของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของมณฑลกรุงเทพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวากับอำเภอข้างเคียงอีก 3 อำเภอตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่และพระราชทานนามว่า "เมืองมีนบุรี" อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) แห่งนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งสุขาภิบาลมีนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2498 ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้ แยกจากตำบลทรายกองดินในปี พ.ศ. 2505 และขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย ในปีถัดมา

อำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี หลังจากการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง และในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตมีนบุรีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) โดยใช้ถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกและคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่ง ได้แก่

1.             มีนบุรี                      (Min Buri)           
2.             แสนแสบ                                (Saen Saep)       

การคมนาคม
ทางสายหลักในพื้นที่เขต ได้แก่
ถนนรามอินทรา เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางเขน โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและทางพิเศษฉลองรัชได้
ถนนสีหบุรานุกิจ เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนร่มเกล้า
ถนนเสรีไทย เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางกะปิ โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและถนนลาดพร้าวได้ (โดยถนนลาดพร้าวเชื่อมในสายทางเดียวกัน)
ถนนรามคำแหง เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้
ถนนร่มเกล้า เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนมอเตอร์เวย์ สถานีลาดกระบัง และท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้
ถนนสุวินทวงศ์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตหนองจอก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ถนนนิมิตใหม่ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนลำลูกกาได้
ถนนหทัยราษฎร์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยมีถนนสายไหมต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตสายไหม บริเวณรอยต่อเขตสายไหมกับอำเภอลำลูกกา
ถนนประชาร่วมใจ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และเขตหนองจอก โดยมีถนนมิตรไมตรีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
ถนนราษฎร์อุทิศ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตหนองจอก โดยมีถนนเลียบวารีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
ถนนมีนพัฒนา เชื่อมถนนเสรีไทยเข้ากับถนนรามคำแหง
ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ (บึงกระเทียม) เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนเสรีไทย
ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
ถนนสามวา เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
ถนนราษฎร์ร่วมใจ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
ถนนคุ้มเกล้า (วัดทองสัมฤทธิ์) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนเจ้าคุณทหารและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้
ถนนบึงขวาง เชื่อมถนนร่มเกล้าเข้ากับถนนสุวินทวงศ์
ซอยรามอินทรา 117 (เจริญพัฒนา) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา โดยมีถนนเจริญพัฒนาต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตคลองสามวา
ซอยร่มเกล้า 24 (การเคหะร่มเกล้า) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยมีถนนเคหะร่มเกล้าต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนราษฏร์พัฒนาในพื้นที่เขตสะพานสูงได้
ซอยสุวินทวงศ์ 7 (บ้านเกาะ) และ ซอยราษฎร์อุทิศ 42 เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
ซอยสุวินทวงศ์ 13 (ชุมชนทองสงวน

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 เขตบางกะปิ,สะพานสูง,คันนายาว,บึงกุ่ม

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 
เขตบางกะปิ,สะพานสูง,คันนายาว,บึงกุ่ม

รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบางกะปิ
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตสะพานสูง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตคันนายาว
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบึงกุ่ม


เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

เขตบางกะปิ
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตบูรพา ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนใต้)

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม มีถนนประดิษฐ์มนูธรรม คลองเกรียง คลองอ้ายหลาว คลองลำเจียก และคลองตาหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตสะพานสูง มีคลองตาหนัง คลองลำพังพวย ถนนนวมินทร์ ถนนศรีบูรพา คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 2 คลองวังใหญ่บน คลองโคลัด และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ คลองหัวหมาก และคลองกะจะเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวางและเขตวังทองหลาง มีคลองแสนแสบ คลองจั่น ถนนลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) คลองลำพังพวย คลองจั่น และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ มีชื่อเรียกว่า บางกบี่[1] ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม

เมื่อมีผู้คนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท

ในช่วงปี พ.ศ. 2514-2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)

เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม ในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้รวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง

การแบ่งเขตการปกครอง
ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง (khwaeng) ได้แก่
คลองจั่น (Khlong Chan)
หัวหมาก (Hua Mak)
มีคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว

เขตสะพานสูง
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตคันนายาว มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตลาดกระบัง มีคลองลาดบัวขาว คลองบึงขวาง และคลองแม่จันทร์เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตสวนหลวง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองบึงบ้านม้า คลองโคลัด คลองวังใหญ่บน และคลองบ้านม้า 2 เป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
เขตสะพานสูงเป็นท้องที่ที่มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย คลองที่มีความสำคัญ ได้แก่ คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 1 คลองทับช้างล่าง คลองลาดบัวขาว คลองสะพานสูง คลองหลอแหล เป็นต้น ตั้งแต่อดีตมีการสร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั้งสองฝั่งคลองเหล่านั้นสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องจากการเดินทางทางน้ำมีความสำคัญมาก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้เพื่อให้เรือทุกขนาดสามารถลอดผ่านไปได้สะดวก สะพานลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่มาของชื่อ "สะพานสูง"

ประวัติ
ตำบลสะพานสูง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยในปี พ.ศ. 2506 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสะพานสูงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสะพานสูง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูงและหมู่ที่ 7-12 ของแขวงประเวศ เขตประเวศ จัดตั้งเป็น เขตสะพานสูง

และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงสะพานสูงเต็มพื้นที่เขตสะพานสูงอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตสะพานสูงได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตหลักสี่ เขตวังทองหลาง และเขตคลองสามวา

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตสะพานสูงมีเขตการปกครองย่อยเพียง 1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงสะพานสูง (Saphan Sung)

เขตคันนายาว
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคลองสามวา มีคลองตาเร่ง คลองลำชะล่า คลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองคู้ชุมเห็ด และคลองคู้บอนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี มีคลองคู้บอนและคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม มีคลองกุ่ม ถนนเสรีไทยฟากใต้ คลองระหัส คลองลำปลาดุก คลองหนองแขม คลองหลวงวิจิตร คลองบางชวดด้วน และถนนรามอินทราฟากใต้ เป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
ประมาณปี พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่ ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ "คันนา" มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย) ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า "โรงแดง" เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ "คันนายาว”

ประวัติ
ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว

และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม เขตสะพานสูง เขตหลักสี่ เขตวังทองหลาง และเขตคลองสามวา โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552

การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[17] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่

1.             คันนายาว                              (Khan Na Yao)   
2.             รามอินทรา                             (Ram Inthra)      

เขตบึงกุ่
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบึงกุ่มตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคันนายาว มีคลองตาเร่งและถนนรามอินทราเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคันนายาว มีคลองบางชวดด้วน คลองหลวงวิจิตร คลองลำชะล่า คลองหนองแขม คลองลำปลาดุก คลองระหัส ถนนเสรีไทย และคลองกุ่มเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิและเขตลาดพร้าว มีคลองแสนแสบ ถนนศรีบูรพา ถนนนวมินทร์ คลองลำพังพวย คลองตาหนัง คลองลำเจียก คลองอ้ายหลาว คลองเกรียง และถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
ประมาณปี พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า "คลองกุ่ม" และ "บึงกุ่ม"

ประวัติ
เมื่อมีผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ย่านคลองกุ่มและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ตำบลคลองกุ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคลองกุ่มด้วยในปี พ.ศ. 2506

ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลคลองกุ่มได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองกุ่ม อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

เนื่องจากเขตบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมากและมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่โดยแยกแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่โดยใช้ชื่อว่า เขตบึงกุ่ม เนื่องจากตั้งสำนักงานเขตอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะบึงกุ่ม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกฐานะแขวงคันนายาวรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม ขึ้นเป็นเขตคันนายาว และยกฐานะแขวงสะพานสูงขึ้นเป็นเขตสะพานสูง

การแบ่งเขตการปกครอ
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบึงกุ่มแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             คลองกุ่ม                 (Khlong Kum)
2.             นวมินทร์                 (Nawamin)

3.             นวลจันทร์               (Nuan Chan)

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 เขตบางซื่อ,พญาไท,จตุจักร,วังทองหลาง,ลาดพร้าว

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 
เขตบางซื่อ,พญาไท,จตุจักร,วังทองหลาง,ลาดพร้าว

รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบางซื่อ
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตพญาไท
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตจตุจักร
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตวังทองหลาง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตลาดพร้าว


เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html

เขตบางซื่อ
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองประปา ทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดุสิต มีคลองบางซื่อ คลองประปา คลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
อำเภอบางซื่อ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอชั้นนอกอำเภอหนึ่งในมณฑลกรุงเทพ โดยขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาลเมื่อปี พ.ศ. 2437 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงที่มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนั้น อำเภอบางซื่อแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางพลัด ตำบลบางอ้อ ตำบลบางโพ ตำบลบางกระบือ ตำบลถนนนครไชยศรี ตำบลสามเสนใน ตำบลสามเสนนอก ตำบลลาดยาว ตำบลสี่แยกบางซื่อ ตำบลบางซื่อใต้ ตำบลบางซื่อเหนือ ตำบลบางซ่อน ตำบลบางเขนใต้ และตำบลบางเขน (ครอบคลุมไปถึงพื้นที่บางส่วนของเขตบางพลัด เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตจตุจักร และอำเภอเมืองนนทบุรีในปัจจุบัน)

ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานคร (หรือมณฑลกรุงเทพ) ขึ้นใหม่ และกำหนดให้อำเภอบางซื่อรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในเขตจังหวัดพระนครได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองใหม่หลายครั้ง ตำบลในอำเภอบางซื่อหลายตำบลถูกยุบรวมกับตำบลอื่นหรือไม่ก็ถูกโอนไปขึ้นกับอำเภอข้างเคียง ทำให้อำเภอนี้มีขนาดเนื้อที่ลดลง ในปี พ.ศ. 2470 ท้องที่อำเภอบางซื่อเหลือเพียงตำบลบางซื่อ บางซ่อน ลาดยาว สามเสนนอก สามเสนใน และบางกระบือเท่านั้น[6] ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางราชการมีคำสั่งให้รวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน อำเภอบางซื่อจึงถูกยุบเลิก เหลือเพียงชื่อ ตำบลบางซื่อ เป็นเขตการปกครองย่อยของอำเภอดุสิตนับแต่นั้น

ในปี พ.ศ. 2514 มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบลตามลำดับ ตำบลบางซื่อจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางซื่อ และยังคงขึ้นกับเขตดุสิต

ภายหลังเขตดุสิตมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงบางซื่อ (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเขต) ยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและสะดวกรวดเร็ว ในขั้นแรกกรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบในพื้นที่แขวงบางซื่อเมื่อปี พ.ศ. 2532 ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกแขวงบางซื่อออกจากเขตดุสิตและจัดตั้งเป็น เขตบางซื่อ ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ และการให้บริการแก่ประชาชนที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในท้องที่มากขึ้น ประกาศฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่กระทรวงออกประกาศนั่นเอง

การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางซื่อ และตั้งแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบางซื่อแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             บางซื่อ                    (Bang Sue)         
2.             วงศ์สว่าง                                (Wong Sawang)

เขตพญาไท
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตพญาไทตั้งอยู่ทางฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อและเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดินแดง มีถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตดินแดงและเขตราชเทวี มีถนนดินแดงฟากใต้และคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
อำเภอพญาไท ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2509 ตั้งชื่อตามพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นตำหนักสำหรับเสด็จประพาสบนที่ดินริมคลองสามเสน ทุ่งพญาไท ช่วงแรกอำเภอพญาไทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล เป็นพื้นที่อำเภอดุสิตเดิม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี ตำบลมักกะสัน และตำบลสามเสนใน และเป็นพื้นที่อำเภอบางกะปิเดิม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยขวางและตำบลสามเสนนอก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย อำเภอพญาไทได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพญาไท ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวง

จากนั้นทางราชการได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่ปกครองของเขตพญาไทหลายครั้ง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความสมดุล เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2516 แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิได้รับการยกฐานะเป็นเขตห้วยขวาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 แขวงดินแดงและบางส่วนของแขวงสามเสนในถูกโอนไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง ในขณะที่พื้นที่บางส่วนของแขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิก็ถูกโอนมารวมกับแขวงสามเสนในและแขวงมักกะสัน ในปี พ.ศ. 2532 พื้นที่ 4 แขวงทางทิศใต้ของเขตได้ถูกแยกออกไปตั้งเป็นเขตราชเทวี การปรับปรุงเขตปกครองครั้งนี้ส่งผลให้เขตพญาไทเหลือแขวงสามเสนในอยู่เพียงแขวงเดียว ส่วนพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขต รวมทั้งถนนพญาไทก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของเขตอีกต่อไป แต่ไปอยู่ในเขตราชเทวีแทน และสุดท้ายในปี พ.ศ. 2537 พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตก็ถูกแยกไปรวมกับเขตดินแดงที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตพญาไทมีหน่วยการปกครองย่อย 1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงสามเสนใน (Samsen Nai)

เขตจตุจักร
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตลาดพร้าว มีคลองบางบัวและคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท มีคลองน้ำแก้ว คลองพระยาเวิก และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางซื่อและอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายเหนือและคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
แต่เดิม ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2507 อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย

ในปี พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว ขึ้นกับเขตบางเขน

ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร พร้อมกับจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532

และเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 5 แขวง เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงเดียว แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงมีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก

การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร แยกจากพื้นที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ทำให้ปัจจุบัน เขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             ลาดยาว                 (Lat Yao)              
2.             เสนานิคม               (Sena Nikhom) 
3.             จันทรเกษม             (Chan Kasem)   
4.             จอมพล                   (Chom Phon)    
5.             จตุจักร                    (Chatuchak)       

เขตวังทองหลาง
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบางกะปิ มีคลองทรงกระเทียม ถนนโชคชัย 4 ถนนสังคมสงเคราะห์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองจั่น คลองลำพังพวย ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) ถนนลาดพร้าว และคลองจั่นเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต
พื้นที่เขตวังทองหลางในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งบางกะปิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวพระนคร ห่างออกไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถือเป็นเขตชานเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเวิ้งว้างแต่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ตั้งชุมชนบริเวณคลองแสนแสบซึ่งมีลักษณะคดโค้งเป็นห้วงน้ำลึกหรือ "วัง" ขนาดใหญ่ ตลอดริมฝั่งคลองในช่วงนี้รวมไปถึงคลองเจ้าคุณสิงห์จะมีต้นทองหลาง (ทองหลางน้ำ) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้คนจึงเรียกพื้นที่แถบนี้ว่า "วังทองหลาง" อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการแบ่งและจัดตั้งพื้นที่การปกครองในระดับแขวงขึ้นใหม่ ส่งผลให้ชื่อและท้องที่แขวงวังทองหลางทุกวันนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับย่านวังทองหลางดั้งเดิมอีกต่อไป

ประวัติ
ตำบลวังทองหลาง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยในปี พ.ศ. 2506 ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลวังทองหลางได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงวังทองหลาง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

จนกระทั่งในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงวังทองหลาง พื้นที่บางส่วนของแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ และพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าวจัดตั้งเป็น เขตวังทองหลาง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทางกรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงวังทองหลางเต็มพื้นที่เขตวังทองหลางอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนในการปกครอง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตวังทองหลางได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง เขตหลักสี่ และเขตคลองสามวา

ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง โดยแบ่งพื้นที่เขตวังทองหลางเฉพาะทางฟากเหนือของถนนสังคมสงเคราะห์ไปรวมกับแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าวแทน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ปีเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่จะไปติดต่อราชการ

การแบ่งเขตการปกครอง
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง[15] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตวังทองหลางแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (khwaeng) โดยใช้ถนนลาดพร้าวและถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่

1.             วังทองหลาง                           (Wang Thonglang)          
2.             สะพานสอง                            (Saphan Song)  
3.             คลองเจ้าคุณสิงห์                  (Khlong Chaokhun Sing)               
4.             พลับพลา                               (Phlapphla)

เขตลาดพร้าว
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตพระนครเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ)

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขน มีคลองหลุมไผ่ คลองสามขา คลองโคกคราม และคลองตาเร่งเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ และเขตวังทองหลาง มีถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวาง มีถนนสังคมสงเคราะห์ ถนนโชคชัย 4 คลองทรงกระเทียม และคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองลาดพร้าวและคลองบางบัวเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์
เดิมเขตลาดพร้าวมีฐานะเป็น ตำบลลาดพร้าว ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลลาดพร้าวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงลาดพร้าว และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางกะปิ

ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้ง เขตลาดพร้าว และเขตบึงกุ่ม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวใหม่ โดยแบ่งพื้นที่แขวงจรเข้บัวเฉพาะส่วนที่อยู่ฟากเหนือคลองโคกครามและคลองตาเร่งไปเป็นพื้นที่ของเขตบางเขน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าวไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง

และในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยได้โอนพื้นที่บางส่วนของเขตวังทองหลางมาเป็นส่วนหนึ่งของแขวงลาดพร้าว

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตลาดพร้าวแบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

1.             ลาดพร้าว               (Lat Phrao)
2.             จรเข้บัว                   (Chorakhe Bua)

การเมือง
เขตลาดพร้าวมีนักการเมืองในพื้นที่ ประกอบด้วย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต8(ลาดพร้าว-วังทองหลาง)จำนวน 1 คน ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 คือ ดร.สรรเสริญ สมะลาภา
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตลาดพร้าว จำนวน 1 คน ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2553 คือ นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์
สมาชิกสภาเขตลาดพร้าว จำนวน 7 คน ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2553 ดังนี้
นายสิทธิชัย ศิลปสังข์เลิศ
นาย อัทรัณ มานุพีรพันธ์
นาย เฉลิมพล จินตนพันธุ์
นาย วิเชียร ปัญญาภู
นาย เปรม ชัยสุตานนท์
นางสาว นพรัตน์ เล้านิรามัย
นาง ศิริรัตน์ กลิ่นดี

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 เขตคลองเตย,พระโขนง,บางนา,ประเวศ,สวนหลวง

รถลาก รถยก รถสไลด์0935431132 
เขตคลองเตย,พระโขนง,บางนา,ประเวศ,สวนหลวง

รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตคลองเตย
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตพระโขนง
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตบางนา
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตประเวศ
รถลาก รถยก รถสไลด์ เขตสวนหลวง

เข้าดูผลงานที่  http://www.4-6-10trucks.com/index.php/board,14.0.html


เขตคลองเตย
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตเจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวขอบทางสุขุมวิท 52 (ซอยศิริพร) และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน มีแนวเขตทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)

เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของ เมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ 3 แขวงดังกล่าวตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาในปี พ.ศ. 2540

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             คลองเตย                               (Khlong Toei)    
2.             คลองตัน                 (Khlong Tan)      
3.             พระโขนง                                (Phra Khanong)

เขตพระโขนง
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตพระโขนงตั้งอยู่ทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองเตย เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง มีแนวขอบทางซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร) ซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) คลองบางนางจีน คลองขวางบน คลองสวนอ้อย แนวลำราง คลองบ้านหลาย ลำรางแยกคลองบ้านหลาย ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) และซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวงและเขตประเวศ มีคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางนา มีถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4) ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และคลองบางอ้อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
เขตพระโขนงเดิมมีฐานะเป็น อำเภอพระโขนง เป็นเขตการปกครองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ปรากฏชื่อเท่าที่สืบค้นได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 (เมืองนครเขื่อนขันธ์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดงในปี พ.ศ. 2457 และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดพระประแดงในปี พ.ศ. 2459) ในสมัยแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่สามแยกวัดมหาบุศย์ (บริเวณที่คลองตันบรรจบคลองพระโขนง) แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองเตย ตำบลคลองตัน ตำบลพระโขนง ตำบลสวนหลวง ตำบลศีรษะป่า (หัวป่า) ตำบลคลองประเวศ ตำบลทุ่งดอกไม้ ตำบลหนองบอน ตำบลบางจาก ตำบลบางนา ตำบลสำโรง และตำบลบางแก้ว จากนั้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่วัดสะพาน ริมทางรถไฟสายปากน้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2459

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470 ทางราชการได้โอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครเพื่อความสะดวกในการปกครอง ก่อนที่จังหวัดพระประแดงจะถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับจังหวัดธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี และเนื่องจากท้องที่อำเภอพระโขนงเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการจึงได้ตั้งเทศบาลนครกรุงเทพโดยโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองเตยเข้าไปในท้องที่ และได้ขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมตำบลอื่น ๆ เกือบทั้งหมดในอำเภอภายในปี พ.ศ. 2507 ในช่วงนี้ที่ว่าการอำเภอพระโขนงได้ย้ายจากวัดสะพานมาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท (ที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน) แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495

ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงด้วย อำเภอพระโขนงจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระโขนง แบ่งออกเป็น 9 แขวงตามจำนวนตำบลที่มีอยู่เดิมก่อนการปรับปรุงรูปแบบการบริหารเมืองหลวง

ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาของเขตพระโขนงขึ้น 3 แห่งขึ้นดูแลท้องที่ต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ยกฐานะท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 และสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 เป็นเขตคลองเตยและเขตประเวศตามลำดับ (ส่วนท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 โอนไปเป็นของเขตประเวศจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง)

เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงอีกครั้ง โดยแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากได้รับการยกฐานะเป็นเขตบางนา ท้องที่เขตพระโขนงจึงเหลือแขวงบางจากอยู่เพียงแขวงเดียว

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตพระโขนงมีเขตการปกครองย่อย 1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงบางจาก (Bang Chak)

เขตบางนา
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร

ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพระโขนงและเขตประเวศ มีคลองบางอ้อ ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4) ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) ถนนอุดมสุข และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองสาหร่าย คลองบางนา และแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ และซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง (เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470 ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน เพื่อความสะดวกในการปกครอง แต่ในปี พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง (ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า

ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล

ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง

ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนาอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางนามีเขตการปกครองย่อยเพียง 1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงบางนา

เขตประเวศ
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตศรีนครินทร์ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์ชุมชนชานเมือง แหล่งงานและการบริการเพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตประเวศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตลาดกระบังและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองแม่จันทร์ คลองตาพุก คลองขันแตก คลองสิงห์โต คลองปากน้ำ คลองสลุด และคลองอาจารย์เกตุเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) และเขตบางนา มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองต้นตาล คลองปลัดเปรียง คลองหนองตาดำ คลองสาหร่าย และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางนา เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง มีคลองเคล็ด คลองตาสาด (คลองคู้) คลองหนองบอน คลองประเวศบุรีรมย์ ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
เขตประเวศเดิมมีฐานะเป็น ตำบลประเวศ เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครในปี พ.ศ. 2470 เมื่อเวลาผ่านไป ท้องที่อำเภอพระโขนงมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2506 ทางราชการจึงได้ตั้งสุขาภิบาลประเวศขึ้นครอบคลุมพื้นที่ตำบลประเวศ ตำบลสวนหลวง ตำบลดอกไม้ ตำบลหนองบอนทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางจากและตำบลบางนา และในปี พ.ศ. 2507 พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ได้ถูกโอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ (ซึ่งขยายเขตออกมาเป็นครั้งที่ 3) เหลือเพียงตำบลประเวศและตำบลดอกไม้ที่ยังคงอยู่ในเขตสุขาภิบาล

ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลประเวศจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงประเวศ เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น รวมทั้งพื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 (ประเวศ) ขึ้นดูแลแขวงประเวศ แขวงหนองบอน แขวงดอกไม้ และแขวงสวนหลวง (ต่อมาแขวงสวนหลวงโอนไปอยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3) และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็น เขตประเวศ แบ่งออกเป็น 4 แขวง ซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วยและคงฐานะเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง

ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองของเขตประเวศใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูง (เขตบึงกุ่ม) และหมู่ที่ 7-12 แขวงประเวศ (พื้นที่เขตประเวศทางด้านเหนือของถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) ไปจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูง

การแบ่งเขตการปกครอง
เขตประเวศมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง (khwaeng) ได้แก่

1.             ประเวศ                  (Prawet)             
2.             หนองบอน              (Nong Bon)        
3.             ดอกไม้                    (Dokmai)             

เขตสวนหลวง
เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตสวนหลวงตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตห้วยขวาง เขตบางกะปิ และเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบ คลองกะจะ คลองหัวหมาก ลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศ มีคลองบึงบ้านม้า ลำรางหลังหมู่บ้านเอื้อสุข คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนองบอนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตพระโขนง มีคลองตาสาด (คลองคู้) คลองเคล็ด ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) ลำรางแยกคลองบ้านหลาย คลองบ้านหลาย แนวลำราง คลองสวนอ้อย และคลองขวางบนเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีคลองบางนางจีนและคลองตันเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
เขตสวนหลวงเดิมมีฐานะเป็น ตำบลสวนหลวง เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้โอนอำเภอพระโขนงรวมทั้งตำบลสวนหลวงมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร โดยตำบลสวนหลวงได้กลายเป็นเป็นท้องที่หนึ่งในเขตสุขาภิบาลประเวศที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2506 จนกระทั่งได้รับการโอนไปเป็นท้องที่ของเทศบาลนครกรุงเทพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508

ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสวนหลวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสวนหลวง เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง

ภายหลังท้องที่เขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 (สวนหลวง) ดูแลพื้นที่แขวงสวนหลวง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็นเขตประเวศ แบ่งออกเป็น 4 แขวงซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย เนื่องจากยังไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเขตใหม่ จึงให้คงฐานะเป็นสำนักงานเขตสาขาไว้ก่อน สำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง

จนกระทั่งในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงสวนหลวง บางส่วนของแขวงประเวศ เขตประเวศ และบางส่วนของแขวงคลองตัน บางส่วนของแขวงพระโขนง เขตคลองเตย มาจัดตั้งเป็น เขตสวนหลวง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงสวนหลวงเต็มพื้นที่เขต โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตสวนหลวงมีเขตการปกครองย่อยเพียง 1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงสวนหลวง (Suan Luang)